วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 4 พัฒนาการมนุษย์ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม

พัฒนาการมนุษย์มีความสำคัญอย่างไร ?
พันธุกรรม คืออะไร?        
สิ่งแวดล้อม  คืออะไร?



1. ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์
              กระบวนการพัฒนาการของมนุษย์    เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นประโยชน์ในการเข้าใจถึงพัฒนาการของทั้งตนเองและบุคคลอื่น  อัตราการพัฒนาการและเจริญเติบโตในแต่ละวัยจะไม่เท่ากัน   กล่าวคือ  ในช่วงวัยทารกถึงวัยเด็กเล็กและระยะวัยรุ่นนั้น   อัตราการพัฒนาการจะเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าในช่วงวัยอื่นๆ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมจะร่วมกันมีบทบาทในการพัฒนาด้านต่างๆ   ของบุคคล   อันจะมีผลต่อเนื่องในการกำหนดบุคลิกภาพของบุคคล   ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับ  อารมณ์  สังคม  ร่างกาย  และสติปัญญา  โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับบุคคลทุกคน
2.พันธุกรรม

                พันธุกรรมเป็นการถ่ายทอดคุณลักษณะทางด้านชีวภาพจากของบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน  โดยคุณลักษณะทางชีวภาพเหล่านี้จะมีอยู่ในยีนส์  (Gene)  และจะถ่ายทอดไปโดยผ่านโครโมโซม  (Chromosome) โดยที่บุคคลในครอบครัวเดียวกันหรือสืบสายโลหิตเดียวกัน  จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่  โดยเฉพาะในด้านของรูปร่างหน้าตา  สีผม  สีผิว  สีตา  อันเป็นลักษณะที่ปรากฏมาให้สังเกตเห็นได้ภายนอก  รวมทั้งกลุ่มเลือดและโรคภัยบางอย่างที่ถ่ายทอดกันทางสายเลือด

บทที่ 3 การสัมผัสและการรับรู้


1. การสัมผัส คืออะไร? การสัมผัสทำให้เกิดความรู้สึกความรู้สึก (Sensation) ได้หรือไม่?
2. การรับรู้ (Perception)   คืออะไร?
สาระสำคัญ
1. การที่ประสาทสัมผัสเป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผ้สรับสิ่งเร้าจากภายนอกมาสู่ระบบประสาทและเปลี่ยนเป็นการรับรู้ มนุษย์จะมีการรับสัมผัสได้ 5 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
2. การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่างๆการเปลี่ยนความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต การเรียนรู้ สภาพจิตในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้นๆ
3. พุทธศาสนา เชื่อว่ามนุษย์สามารถรับรู้โดยไม่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5ได้การับรู้ทางจิตของมนุษย์สามารถฝึกฝนได้โดยใช้สติและสมาธิ

4. มนุษย์มีการรับรู้และการแปลความหมายเหตุการต่างกัน การพยายามเข้าใจโลก การรับรู้ของผู้อื่น จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจเพื่อนมนุษย์ได้ดีขึ้น
§สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ” คำกล่าวนี้ดูจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสัมผัสในรูปแบบต่างๆ เช่น การสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย สัมผัสว่ามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เช่นไร ?
§หรือ ขณะนี้นศ.กำลังอ่านหน้งสืออยู่ สายตากำลังรับสัมผัสจากตัวหนังสือโดยผ่านกระแสประสาทตา และหูกำลังฟังดนตรีไพเราะจากคอมฯในห้อง เสียงดนตรีจะผ่านเข้าทางกระแสประสาทหู ถ้าหากกระแสของเราผ่านประสาทหูของเราแปลความหมายว่า นั่นเป็นเสียงเพลงที่เราชอบด้วยแล้วเราอาจละสายตาจากหนังสือที่กำลังอ่าน ปล่อยจิตใจให้ดื่มด่ำไปกับอำนาจของเสียงเพลงตามการรับรู้ในขณะนั้น
§การสัมผัสและการรับรู้เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์อยู่ตลอดเวลา

บทที่ 2 แรงจูงใจ


จะทำอย่างไรให้ นศ.ทุกคนกระตืนรือร้นยากมาเรียนร่วมกันอย่างมีความสุขและตรงต่อเวลา?
ท่ามกลางความแตกต่างจะประสานพลังสู่ความสำเร็จมีทักษะวิธีง่ายๆ อย่างไร?
แรงจูงใจ คืออะไร?
เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง?
1. แรงจูงใจเป็นกระบวนการที่สร้างและกระตุ้นให้บุคคลเกิดพฤติกรรมทั้งที่เป็นพฤติกรรมโดยสัญชาติญาณและพฤติกรรมจากการเรียนรู้
2. กระบวนการจูงใจจะเกิดได้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย โดยจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ผลักดันให้บุคคลต้องแสดงพฤติกรรม ทั้งเพื่อความอยู่รอดในชีวิตประจำวันและพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต
        3.กระบวนการจูงใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา การกล่อมเกลาพฤติกรรมอันพึงประสงค์ เป็นประโยชน์เชิงธุรกิจ การเมืองการปกครองและทางการศาสนาได้ ในทางตรงกันข้ามสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความเสียหายต่อระบบต่างๆ ของสังคมได้เช่นกัน


2. ความสำคัญของจิตวิทยา


      จิตวิทยามีอิทธิพลและบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การศึกษาทางจิตวิทยาจะทำให้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเราเองและพฤติกรรมของคนในสังคมต่อการกระทำที่เกิดขึ้น จึงทำให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินเหตุการณ์ต่างๆได้


วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

1. ความหมายของจิต


          ความหมายของจิตวิทยาที่เป็นยอมรับในปัจจุบัน คือศาสตร์ที่ศึกษาทั้งพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตด้วยระเบียบวิธีเชิงวิทยาศาสตร์  ( Feldman.1996 : 5)
  จุดประสงค์ในการศึกษาจิตวิทยาของนักจิตวิทยามี 4 ประการ (Matlin.1995:2)
  1. ต้องการบรรยาย ลักษณะพื้นฐานของพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตโดยใช้การสังเกตอย่างเป็นระบบ
  2. ต้องการอธิบายว่าทำไมพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตเกิดขึ้นไม่ได้
 3. ต้องการทำนาย เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตบนพื้นฐานของเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา
  4. ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตให้มีลักษณะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
  5. ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตให้มีลักษณะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
 

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาทั่วไป


จิตวิทยา (Psychology) 
       คำว่า Psychology (จิตวิทยา)มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ ได้แก่
                    Psyche (Mind = จิตใจ)
                    Logos (Knowledge = ศาสตร์(การศึกษา),องค์ความรู้(การเรียนรู้)) ความหมายโดยรวมของ Psychology  หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของอินทรีย์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นสำคัญ เพื่ออธิบาย ทำความเข้าใจทำนาย และควบคุมพฤติกรรมนั้นๆได้

คำว่า psychology


คำว่า psychology ก็แปลว่า การศึกษา เรียนรู้ เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์ หรือ จิตวิทยา
             สัญลักษณ์ประจำสาขาจิตวิทยา คือ psyche  เมื่อพูดถึง psyche ก็อดไม่ได้ที่จะกล่าวถึง นางไซคี กับ อีรอส หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่หากกล่าวว่า นางไซคี กับ คิวปิด  เป็นตำนานรักของสองคนนี้น่าสงสารมาก..กามเทพ หรือ คิวปิด เมื่อโตเป็นหนุ่มได้ชื่อว่า อีรอส ได้หลงรักสตรีนางหนึ่งชื่อว่า"ไซคี" ทุกวัน อีรอสจะต้องไปหานางไซคีและพูดคุยกับนางในความมืด โดยที่นางไม่เคยรู้เลยว่าชายที่รักหน้าตาเป็นเช่นไร    
            แล้ววันหนึ่งพวกญาติของนางได้ยุนางให้เปิดไฟเวลาที่อีรอสมาหาเพื่อจะได้รู้ว่าชายที่รักเป็น คน ผี หรือ อะไรกันแน่ นางหลงเชื่อเมื่ออีรอสมาหานางจึงเปิดไฟ และแล้วสิ่งที่นางพบคือชายรูปงามที่สุด เขามีปีกสีทองนางยินดีมากแต่นางหารู้ไม่ว่านางได้ทำลายความเชื่อมั่นของอีรอสไปเสียสิ้น อีรอสบินออกไปนอกหน้าต่าง นางไซคีร้องเรียกให้กลับมา อีรอสหันหลังกลับมาแล้วยิ้มให้ทั้งน้ำตาและบอกว่า “ความรักจะโบยบินจากเจ้าไป เมื่อเจ้าขาดความเชื่อใจ” 

          จากนั้น ไซคี ผู้น่าสงสารก็ออกตามหา อีรอส  ... เทพี อโฟรไดท์ หรือวีนัส แม่ของอีรอส ผู้ซึ่งอิจฉาในความงามของ ไซคี อยู่ก็ทำการกลั่นแกล้งนางสารพัดเพื่อไม่ให้พบกับ อีรอส
          แต่ในตอนสุดท้าย ทั้งคู่ก็พบกัน ความสมหวัง จบแบบที่ชาวบ้าน รู้สึกพอใจกัน (happy ending) และสัญลักษณ์ประจำเอกจิตวิทยาก็คือ โลโก้รูปสามง่ามที่เราเห็นกันบ่อย ๆ นี่แหละ...จึงต้อง Psychology