วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

มคอ.3 จิตวิทยาทั่วไป ปีการศึกษา2-61


 รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา         วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา   คณะเทคโนโลยี                         สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์

หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป
1.  รหัสและชื่อรายวิชา
                901-103,901-103   จิตวิทยาทั่วไป(General Psychology)
2.  จำนวนหน่วยกิต
                3 หน่วยกิต  (3-0-6)
3.  หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
                หลักสูตรเทคโนยีบัณฑิต
   วิชาบังคับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
                นาย กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
5.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
              ภาคการศึกษาที่ 1/61  ปีที่ 2  ชั้นปีที่ 1
6.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (ถ้ามี)
            ไม่มี
7.  วิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (co-requisites) (ถ้ามี)
           ไม่มี
8.  สถานที่เรียน
            วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม   ตึก 9     ห้อง 9616
9.  วันที่จัดทำรายละเอียดของรายวิชา หรือวันที่มีการปรับปรุงครั้งล่าสุด
        3  มกราคม  2560
หมวดที่ 2  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
ความหมายและความเป็นมาของวิชาจิตวิทยา อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ พัฒนาการมนุษย์ พื้นฐานสรีระวิทยาของมนุษย์ การรับสัมผัส การรับรู้ การเรียนรู้ แรงจูงใจและอารมณ์ เชาว์ปัญญา บุคลิกภาพและการปรับตัว สุขภาพจิต พฤติกรรมผิดปกติและพฤติกรรมทางสังคม 
1.    นักศึกษาเข้าใจความหมายและความเป็นมาของวิชาจิตวิทยา อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ในการดำเนินชีวิต หน้าที่การงานได้อย่างมีคุณธรรม ความสงบสุขด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 
       1. 1  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและความเป็นมาของจิตวิทยา อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์
1.2    เพื่อให้นักศึกษาได้มีทักษะความชำนาญพื้นฐานสรีระวิทยาของมนุษย์ และการรับสัมผัส
      1.3   เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษา พัฒนาการมนุษย์ การรับรู้ แรงจูงใจ พฤติกรรมผิดปกติและอารมณ์
1.4   เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ พฤติกรรมทางสังคม เชาว์ปัญญา บุคลิกภาพและการ ปรับตัวได้
1.5  พื่อให้นักศึกษารู้จักรักษาสุขภาพจิตให้ดี  มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองสังคอย่างต่อเนื่องยิ่งๆขึ้นไปในการทำงานและการมีชีวิตอย่างมีความสุข
2.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
              1.  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความสามารถในการเรียนรู้  และพัฒนาตนเอง
             (Ability to Learn & Adapt to change)เช่นการมุ่งมันสู่ความสำเร็จ(Achievement Motivation)
ความกระตื้นรื้น(Energetic)ความมั่นใจในตัวเอง(Self- Confidence) ความน่าเชื่อถือหรือไว้ว่าใจได้
(Trust)การทุ่มเทในการทำงาน(Dedication to work)ทัศนคติเชิงบวกต่องาน(Positive attitude to
work)
              2.  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและถูกต้องตาม 
             ระเบียบวินัย การปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากร(Resources Utilization),การปฏิบัติตาม
             กฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน(Following Rules&Regulation)
            





หมวดที่ 3  ส่วนประกอบของรายวิชา
 1.  คำอธิบายรายวิชา
          ความหมายและความเป็นมาของวิชาจิตวิทยา อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ พัฒนาการมนุษย์ พื้นฐานสรีระวิทยาของมนุษย์ การรับสัมผัส การรับรู้ การเรียนรู้ แรงจูงใจและอารมณ์ เชาว์ปัญญา บุคลิกภาพและการปรับตัว สุขภาพจิต พฤติกรรมผิดปกติและพฤติกรรมทางสังคม

2.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้/ภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
45 ชั่วโมง
ไม่มี
ไม่มี
90 ชั่วโมง

3.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
     - อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
     - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1ชั่วโมงต่อสัปดาห์               
        (เฉพราะรายที่ต้องการ)
หมวดที่ 4  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
                           -มีความขยันอดทนมีวินัยและตรงต่อเวลา
                           -ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคมปลูกฝังความมีวินัย การทำงานได้ด้วยตัวเอง ตรงต่อเวลา ใฝ่รู้  ความซื่อสัตย์ และ ความรับผิดชอบ
            1.2  วิธีการสอน
  1.2.1  การอธิบาย/บรรยาย
  1.2.2  การอภิปราย/การใช้เหตุผล                                     
           1.2.3  การศึกษาค้นคว้ารายบุคคลหรือกลุ่ม
            1.2.4  การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
            1.2.5  การใช้สื่อประกอบการสอน
            1.3  วิธีการประเมิน
                ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน

2.  ความรู้
               2.1  ความรู้ที่จะได้รับ
      มีความรู้ด้านมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และภาษาศาสตร์ในกลุ่มอาเซียนสามารถจัดการความคิดและความรู้และทักษะเกี่ยวกับทฤษฏี การแก้ปัญหา ความสำคัญเกี่ยวกับการประยุกต์จิตวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตอย่างเข้าใจตน เข้าใจผู้อื่น มีจริยธรรมแบบสัมมาชีพที่เหมาะสมกับผู้เรียนและมาตรฐานการเรียนรู้ในบริบทของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
            2.2  วิธีการสอน
                       การบรรยาย  การอภิปราย   การทำรายงานเดี่ยวและกลุ่ม การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งกรณีศึกษาและ/หรือเชิญวิทยากรมาบรรยาย
                2.3  วิธีการประเมิน
                      ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา  การอภิปราย การทำรายงาน การค้นคว้า การสอบกลางภาคและปลายภาค   

3.  ทักษะทางปัญญา
            3.1  ทักษะทางปัญญา
                        สามารถจัดการความคิดและความรู้ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบรูณาการองค์ความรู้จากการถาม-ตอบ ด้านทฤษฎีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง(Continuous Learning)และการควบคุมอารมณ์( Emotional Control)
            3.2  วิธีการสอน
                   ใช้กระบวนการกลุ่มในการ อธิบาย อภิปราย สะท้อนความคิด การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การทำใบงานต่าง ๆ ที่มอบหมาย  ตลอดภาคการศึกษา
            3.3  วิธีการประเมิน   
                ประเมินจากการเรียนการสอน การแสดงความคิดเห็นและการอภิปราย รายงานรายบุคคลและรายกลุ่ม  นำเสนอหน้าชั้นเรียนและจัดส่งผลการวิเคราะห์งานใบงานทุกสัปดาห์

4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                4.1  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                  มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียน มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
                4.2  วิธีการสอน
                   ทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ อภิปราย/บรรยาย ถามตอบ และค้นคว้า ในชั้นเรียนและห้องสมุด
                      4.2.1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม
                                       -มีความขยันอดทนมีวินัยและตรงต่อเวลา
                                      -ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม              
                      4.2.2 ด้านความรู้
                                      -มีความรู้ด้านมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และภาษาศาสตร์ในกลุ่มอาเซียน
                      4.2.3 ด้านทักษะทางปัญญา
                                      -สามารถจัดการความคิดและความรู้
                      4.2.4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                                       -มีการเรียนรู้ มีทักษะและทัศนคติที่ดีในการทำงานเป็นทีม
                                       -มีความรับผิดชอบ
                     4.2.5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                                      -มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และทคโนโลยีสารสนเทศ
4.3  วิธีการประเมิน
                   ประเมินจากความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน และประเมินจากผลการทำกิจกรรมกลุ่มและทำรายงาน

5.  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศ
5.1  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศที่ต้องพัฒน
     ใช้ภาษาพูด  ภาษาเขียน ในการสื่อสาร ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและถ่ายทอดภาษาและสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2  วิธีการสอน
                    การสอนโดยใช้ power point ประกอบการบรรยาย การทำรายงานโดยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ   
     เอกสาร และอินเตอร์เน็ต
5.3  วิธีการประเมิน
               ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย  การเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงาน
หมวดที่ 5  แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
1
- บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาทั่วไป
- ความหมายและความสำคัญของจิตวิทยา
-ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
-กลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา
-สาขาต่างๆของจิตวิทยา
- วิธีการค้นหาความจริงทางจิตวิทยา
-จรรยาบรรณของนักจิตวทยา
3
-แนะแนววิธีการศึกษา
-อธิบายโครงสร้างของวิชาพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- การแก้ปัญหา
- นักศึกษาส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้ ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร แลกเปลี่ยนความรู้รวมทั้งแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อที่กำหนด เช่นจิตวิทยามีความสำคัญอย่างไร และมีประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างไร?
 -ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้ส.1
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง

  2-3
บทที่ 2 แรงจูงใจ
- ความหมายและความสำคัญของแรงจูงใจกระบวนการเกิดแรงจูงใจ  - ความต้องการที่เกิดจากสิ่งเร้าประเภทของแรงจูงใจแรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ -ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
-แรงจูงใจจากการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน  - คำถามท้ายบท

   6
ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร แลกเปลี่ยนความรู้รวมทั้งแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อที่กำหนด เช่นแรงจูงใจมีความสำคัญอย่างไร และแรงจูงใจเป็นพื้นฐานของมนุษย์อย่างไร?
 -ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้ส.2
- ทำแบบฝึกหัด ตอนที่  1และ2


4








บทที่ 3 การสัมผัสและการรับรู้
-ความเข้าใจเกี่ยวกับการสัมผัสและการรับรู้
-ประสาทสัมผัสและการแปลความหมาย
-การรับรู้และการแปลความหมาย
-การเข้าใจความสัมผัสตามแนวพุทธศาสนา -แนวทางการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3











-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
ให้นักศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับประสาทสัมผัสและการพร้อมยกตัวอย่างประกอบ -ให้นักศึกษามีส่วนร่วมโดย ให้ศึกษา ค้นคว้า จากเอกสาร ตำรา และInternes งานมอบหมายรื่อง การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรแล้วนำมา present หน้าชั้นเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
-ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้ ส.3 
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง







5-6
บทที่ 4 พัฒนาการมนุษย์พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
 -ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาพัมนาการของมนุษย์ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
 - พันธุกรรม  - อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อบุคคลวุฒิภาวะ -พัฒนาการมนุษย์
-งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
6
-บรรยาย
-ถาม ตอบ
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
-มอบหมายงานกลุ่ม บ.6-10
- ทำแบบฝึกหัด
*งานกลุ่มมอบหมายรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน*
(บท 6-10)
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
7
บทที่ 5 พฤติกรรมทางสังคม
- ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต้องมารวมกันเป้นสังคมและความหมายพฤติกรรมทางสังคม
- การรับรู้ทางสังคม(social perception)ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคม  - อิทธิพลของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคม 
- การประยุกต์จิตวิทยามาใช้ให้เหมาะกับสังคมกับการดำรงชีวิตในสังคม
3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
-การวิเคราะห์จุดเด่นและด้อยพฤติกรรมของตนและคนในสังคม
-มอบหมายรายงาน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1
-TEST 1
-สรุปบทเรียนบทที่  1-5
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง

8
    
สอบกลางภาค
( 26 ก.พ.61- 2 มี.ค.62 )


3

      เนื้อหาสัปดาห์ที่ 1-7      (บทที่ 1 – 5 )


สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
9
 บทที่ 6 บุคลิกภาพและการวัด
-ความหมายของบุคลิกภาพ 
ทฤษฎีบุคลิกภาพ
-แนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
-การวัดและประเมินบุคลิกภาพ
-การปรับปรุงบุคลิกภาพ
- คำถามท้ายบท
3
-บรรยาย
- ฝึกการวิเคราะห์ทฤษฎีต่าง ๆ
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัด
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
10
บทที่ 7    อารมณ์
- ความหมายและความสำคัญของอารมณ์
- การจัดประเภทอารมณ์
- การเกิดอารมณ์
-พัฒนาการทางอารมณ์ของมนุษย์
- การแสดงออกทางอารมณ์
-แนวทางการควบคุมอารมณ์ในชีวิตประจำวัน
3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัด
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
11-12
บทที่ 8 สติปัญญาและการวัด   
                 -ความหมายของสติปัญญา
 -อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาสติปัญญา 
 -การวัดสติปัญญา
  -ตัวแปรเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา
  -สติปัญญาในการดำเดินชีวิตประจำวัน
3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  2
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
13-14
บทที่ 9 สุขภาพจิต
- ความหมายของสุภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต
- ลักษณะของบุคคลที่มีสุขภาพที่ดีและลักษณะผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต
-ประเภทของความผิดปกติทางจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติทางจิต
- วิธีการบำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเอง

6
-อภิปราย
-เสนองานมอบหมายหน้าชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัดตอนที่  1
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
15
บทที่ 10 การปรับตัว
-การปรับ คืออะไร
-ความเข้าใจเรื่องความเครียด
-ความคับข้องใจกับกลไกป้องกันจิต
-ความขัดแย้งกับการปรับตัว
-พุทธศาสนากับการปรับตัว

3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เสนองานมอบหมาย
- ทำแบบฝึกหัด

อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง


16


สอบปลายภาค ( 23 -27 เม.ย. 62 )                 เนื้อหาสัปดาห์ที่  9-15   (บทที่ 6– 10 )



2.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่
ผลการเรียนรู้*
วิธีการประเมิน
กำหนดการประเมิน (สัปดาห์ที่)
สัดส่วนของการประเมินผล
1
วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้าการนำเสนอรายงาน
รายงานและการนำเสนอรายงาน
ตลอดภาคการศึกษา
20

การทำงานกลุ่มและผลงาน
การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความเห็นในชั้นเรียน
การส่งงงานตามมอบหมาย



2
ความรับผิดชอบงานที่มอบหมาย
การส่งงงานตามมอบหมายตรงเวลา

10
3
ความรู้
สอบกลางภาค    
9
30
4
ความรู้
สอบปลายภาค
18
30
5
มีความขยัน,อดทน และมีวินัย
การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา     
ตลอดภาคการศึกษา
10
* ระบุผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยตามที่ปรากฏในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบของรายวิชาของรายละเอียดของหลักสูตร (แบบ มคอ. 2)
                   หมวดที่ 6  ทรัพยากรประกอบการเรียน
1.  ตำราและเอกสารหลัก
         1. เติมศักดิ์ คทวณิช ผศ. “จิตวิทยาทั่วไป ” กรุงเทพมหานคร พิมพ์ที่บริษัท . เอเชียเพรส จำกัด,2549               
         2. สุช  จันทร์เอม  จิตวิทยาทั่วไป  กรุงเทพ:โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2539
         3. จิราภา เต็งไตรรัตน์และ  จิตวิทยาทั่วไป  กรุงเทพ:  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2547       
         4. วิภาพร มาพบสุข.  จิตวิทยาทั่วไป  กรุงเทพ:โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ,2540                    
         5. มุกดา ศรียงค์และคณะ. จิตวิทยาทั่วไปกรุงเทพ:พิมพ์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2544                   
         6. กัลยา สุวรณแสง จิตวิทยาทั่วไปกรุงเทพ:รวมสาสน์ พิมพ์ครั้งที่ 5,2544                   
         7. ดวงกมล เวชบรรยงรัตน์และคณะ  จิตวิทยาทั่วไปกรุงเทพ:พิมพ์ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2539                   
         8. พิศสมัย วิบูลย์สวัสดิ์  จิตวิทยาทั่วไปเชียงใหม่ :โรงพิมพ์ช้างเผือก,2527
         9. สมพร สุทัศนีย์  การทดสอบทางจิตวิทยา  กรุงเทพ:สำนักพิมพืแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,  2544.
       10. ประมวล ดิคคินสัน จิตวัฒนา จิตวิทยาเบื้องต้นกรุงเทพ:ไทยวัฒนาพานิช พิมพ์ครั้งที่2,2524.
       11. Matlin,M.W.Psychology.U.S.A. : Harcourt Brace Jovanovich College Publisher,1992.
       12. Spear,P.D.,Renrod,S.D.,Barker,T.B. Psychology : Perspection on  Behaviour.New York : John Wiley &
             Sons,1988.
       13. Vogel, J.L. Thinking about Psychology. Chicago : Nelson-hall,1985.
2.             เอกสารและข้อมูลสำคัญ   -ไม่มี
3.             เอกสารและข้อมูลแนะนำ  -เว็บไซด์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา เช่น http:// Psychology -stu.blogspot.com, http://www.pantown.com/, http://dit.dru.ac.th เป็นต้น

หมวดที่ 7  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
                1.1  ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
               1.2  สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาในสัปดาห์สุดท้าย
2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
2.1 ผลการสอบ
3.  การปรับปรุงการสอน
              3.1  นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอน ,3.2  ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ๆนำมาใช้ในการสอน, 3.3  กลุ่มคณาจารย์จัดอภิปราย/สัมมนาเพื่อพัฒนารายวิชาให้มีสาระวิชาและการสอนให้เหมาะสมและน่าสนใจ
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
              4.1  ให้นักศึกษาได้มีโอกาสตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งเกรดให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
4.2  ก่อนการสอบกลางภาคและปลายภาค จัดประชุมคณาจารย์เพื่อออกข้อสอบร่วมกับการพัฒนาข้อสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน
5.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุม นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป



ลงชื่อ...................................................................           วันที่รายงาน.............................................................
           ( นาย กิจสดายุทต์ สังข์ทอง )