วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ขอบข่ายของจิตวิทยา

   ขอบข่ายของจิตวิทยา 
            ปัจจุบันนั้น จิตวิทยาได้แตกแขนงออกไปเป็นหลากหลายสาขา โดยจะเน้นศึกษาพฤติกรรมในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับว่าจุดมุ่งหมายของแต่ละสาขานั้นเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งสามารถจำแนกขอบข่ายของจิตวิทยาได้ ประเภท ได้แก่
         1. ขอบข่ายพื้นฐาน (Basic Fields)
               1) จิตวิทยาทั่วไป (General or Pure Psychology) เป็นจิตวิทยาที่มุ่งศึกษาถึงกฎเกณฑ์ ทฤษฎีพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมโดยทั่ว ๆ ไปของมนุษย์ เป็นการปูพื้นฐานทางจิตวิทยา
             2) จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) เป็นการศึกษาถึงกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตในสภาพการณ์ด้านต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ การลืม การจำ โดยใช้วิธีการทดลองเป็นหลักสำคัญในการศึกษาค้นคว้า และนำผลที่ได้จากการทดลองไปสร้างเป็นทฤษฎีและเกณฑ์เพื่อประยุกต์ในวิชาการแขนงต่าง ๆ
            3) จิตวิทยาเชิงสรีรวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ซึ่งเป็น องค์ประกอบพื้นฐานในการก่อเกิดการแสดงออกทางพฤติกรรม เน้นถึงโครงสร้างหน้าที่การทำงานของอวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการเกิดพฤติกรรมโดยเฉพาะ
             4) จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) มุ่งศึกษาเกี่ยวกับบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลในสังคม โดยเน้นไปที่การสำรวจมติมหาชน ทัศนคติ ค่านิยม รวมไปถึงวัฒนธรรมของแต่ละสังคม เพื่อสรุปเป็นเกณฑ์สำหรับอธิบายพฤติกรรมของสังคมแต่ละสังคม
           5) จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology or Genetic Psychology) เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นถึงพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ ตลอดจนอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น อารมณ์ สติปัญญา เป็นต้น
      2. ขอบข่ายประยุกต์ (Applied Fields)
           1) จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีเพื่อใช้ในการศึกษา พัฒนาการเรียนการสอน เน้นให้เกิดความรู้อย่างแท้จริงตามปรัชญาทางการศึกษา
         2) จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) มุ่งศึกษาเหตุแห่งความ ผิดปกติทางพฤติกรรม เพื่อหาแนวทางในการบำบัดรักษาในด้านต่าง ๆ เช่น อารมณ์ พฤติกรรม อาการป่วยทางจิตใจ ตลอดจนการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตด้วย
        3) จิตวิทยาการให้คำปรึกษา (Counseling Psychology) มุ่งศึกษาถึงเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บุคคลที่ประสบปัญหาทางอารมณ์และจิตใจได้เข้าใจและเห็นแนวทางในการเลือกแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
       4) จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) มุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานในงานประเภทอุตสาหกรรม ในแง่ของ ประสิทธิภาพในการทำงาน ผลของสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อคนงาน การสร้างขวัญและการจูงใจการคัดเลือกบุคคล ตลอดจนการประเมินการทำงานในสถานประกอบการทั้งหลาย เพื่อค้นหากระบวนการที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในงานอุตสาหกรรม 


        5) จิตวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative Psychology) มุ่งศึกษาความเหมือนและแตกต่างของพฤติกรรมการแสดงออกของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
            นอกจากนี้ ในขอบข่ายของจิตวิทยาประยุกต์นั้นยังมีอีกมากมาย เช่น จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology) จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Personality Psychology) จิตวิทยาบำบัด (Therapy Psychology) จิตวิทยาวิศวกรรม (Engineering Psychology) จิตวิทยาการกีฬา (Sport Psychology) เป็นต้น                                              (ที่มา
http://hlinzaii.50webs.com/j1.htm)

จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา, แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ

  จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา
        จิตวิทยาเป็นวิชาที่จัดอยู่ในกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
                1. เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรม (Understanding Behavior) ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก กระบวนการทางจิต (Mental Process) ที่เกิดขึ้นภายใน อันจะทำให้สามารถเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้อย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้น
                  2. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรม (Explanation Behavior) ทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ พฤติกรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นนั้นต่างมีเหตุจูงใจในการแสดงพฤติกรรมทั้งสิ้น ดังนั้นนักจิตวิทยาจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ เพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญแห่งพฤติกรรมที่แสดงออกนั้น ๆ
                 3. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรม (Prediction Behavior) ซึ่งการทำนายนั้นหมายถึงการคาดคะเนผลที่ควรจะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
                  4. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถควบคุมพฤติกรรม (Control Behavior) ที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงหรือหมดไป โดยในขณะเดียวกันนั้นก็จะต้องสามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นใหม่ด้วย
                  5. เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Application) ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง และ/หรือสังคมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ
                กลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา (Schools of Psychology) หมายถึง แนวคิด ทฤษฎีที่สำคัญและระเบียบวิธีการทางจิตวิทยาเพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจและเปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึงของกลุ่มเป็นการจัดระเบียบแนวคิดให้เป็นหมวดหมู่ตามความเชื่อและวิธีการศึกษา โดยจัดแบ่งได้ 5 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
William Wundt ผู้นำกลุ่มโครงสร้างแห่งจิต(Structuralism)
1.              กลุ่มโครงสร้างแห่งจิต (Structuralism)

          ผู้นำกลุ่มความคิดนี้ คือ วิลเฮล์ม  วุนด์ท กลุ่มนี้เกิดขึ้นในยุคศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงความเจริญก้าวหน้าของวิชาเคมีที่มีการวิเคราะห์ สารประกอบของธาตุต่างๆ โดยอาศัยการตรวจพินิจภายในที่เกิดจากการใช้ความรู้สึก การสัมผัสและมโนภาพ ดังนั้นจุดประสงค์ของการศึกษาในกลุ่มนี้คือ การวิเคราะห์หาโครงสร้างของจิตโดยเรียกกระบวนการศึกษาจิตวิธีนี้ว่า การพินิภายใน (Introspection) เป็นการให้ผู้ถูกทดลองพิจารณาประสบการณ์ทางจิตตนเองขณะได้รับสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัส อธิบายความรู้สึกของตนที่เกิดขึ้น มีแนวคิดเบื้องต้นที่เป็นมูลเหตุให้สนใจศึกษาเรื่องจิตธาตุ (Mental Elements) มาจากความเชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย (Body) กับจิตใจ (mind) ซึ่งต่างเป็นอิสระต่อกันแต่ทำงานสัมพันธ์กัน ดังนั้น การกระทำของบุคคลจึงเกิดจากการควบคุมและสั่งการจิตใจ ผู้นำกลุ่มนี้ คือ William Wundtเขาสรุปว่าส่วนนี้มาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดเป็นความคิด อารมณ์ ความจำ เป็นต้น

John Dewey ผู้นำกลุ่มหน้าที่แห่งจิต (Functionalism)
2. กลุ่มหน้าที่แห่งจิต (Functionalism)
           กลุ่มนี้เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1900 ผู้นำกลุ่มคือ John Dewey หรือ William James แนวคิดของกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากลัทธิปรัชญากลุ่มปฏิบัตินิยม (Pragmatism) และทฤษฎีที่สำคัญทางชีววิทยาคือ ทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาล์ส ดาร์วิน (Chartles Darwin) จึงเกิดการรวมตัวขิง 2 กลุ่มนี้ขึ้น ทฤษฎีวิวัฒนาการอธิบายถึงการดำรงอยู่ของสัตว์ที่ต้องต่อสู้และปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ซึ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตควรต้องศึกษาหน้าที่ของจิตต่อการปรับตัวภายในจิตใต้สำนึกมากกว่าการแยกแยะองค์ประกอบโครงสร้างของจิตออกเป็นส่วนๆ กลุ่มนี้เชื่อว่าจิตสำนึกของมนุษย์ทำให้กระบวนการคิดและการตัดสินใจช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ กล่าวโดยสรุปคือ กกลุ่มนี้เชื่อว่าจิตมีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมเพื่อปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามทั้ง John Dewey และ William James ก็มีจุดเน้นที่ต่างกัน John Dewey เชื่อว่าเป็นประสบการณ์(Experience) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ William James เชื่อในเรื่องสัญชาติญาณ (Instinct) ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญกว่า กลุ่มหน้าที่ของจิตใช้วิธีการศึกษาแบบสอบถาม การทดลองทางจิตวิทยาและวิธีพรรณนาเกี่ยวกับเชิงปรนัยมิใช่ใช้เพียงการพินิจภายในเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้น John Dewey ยังได้นำหลักของความคิดแนวนี้มาใช้กับการศึกษา โดยเขาเห็นว่าการเรียนการสอนควรมีจุดเน้นที่ความต้องการของผู้เรียนไม่ใช่เนื้อหาในหลักสูตร กล่าวโดยสรุป แนวคิดของกลุ่ม Functionalism เป็นดังนี้
                 - การกระทำทั้งหมดหรือการแสดงออกมนุษย์เป็นการแสดงออกของจิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การศึกษาจิตใจคนจึงต้องศึกษาที่การแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ
                  - การกระทำหรือการแสดงออกทั้งหมดเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล พฤติกรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป
Sigmund Freud ผู้นำกลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychology)
3. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychology)
ผู้นำกลุ่มคือ Sigmund Freud จิตแพทย์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นผู้วางรากฐานของจิตวิทยาคลินิก ทฤษฎีของเขาเริ่มจากการศึกษาคนไข้โรคจิตในคลินิกของตัวเอง จุดเน้นของจิตวิเคราะห์อยู่ที่การประยุกต์วิธีใหม่ในการบำบัดรักษาบุคคลที่มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ข้อมูลส่วนใหญ่จึงได้จากการสังเกตในคลินิกมิได้มาจากทำลองในห้องปฏิบัติการ พื้นฐานแนวคิดนี้มาจากความสนใจเกี่ยวกับจิตใต้สำนึกและเชื่อว่าแรงขับทางเพศมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มาก ความคิดหลักของ Freud คือ จิตมีลักษณะเป็นพลังงานเรียกว่า พลังจิตซึ่งควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของบุคคล อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของ Freud ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยอย่างมาก
Freud อธิบายว่า จิตของมนุษย์มี 3 ระดับ โดยเปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง (Ice burg) คือ          จิตสำนึก (Conscious mind) เปรียบเหมือน Ice burg ส่วนที่พ้นผิวน้ำซึ่งมีปริมาณเล็กน้อยเป็นสภาพที่บุคคลมีสติ รู้ตัว การแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผลและแรงผลักดันภายนอกสอดคล้องกับหลักของความจริง (Principle of Reality)
          จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) หรือจิตกึ่งสำนึก (Preconscious) เปรียบเหมือน Ice burg ที่อยู่ปริ่มผิวน้ำ เป็นสภาพที่บุคคลมีพฤติกรรมไม่รู้ตัวในบางขณะ หรือพูดโดยไม่ตั้งใจ ประสบการณ์ที่ผ่านมากลลายเป็นความทรงจำในอดีตที่จะถูกเก็บไว้ในจิตส่วนนี้ เมื่อไม่นึกถึงก็จะไม่รู้สึกอะไรแต่เมื่อนึกถึงจะสะเทือนใจทุกครั้ง
จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) เปรียบเหมือน Ice burg ที่อยู่ใต้ผิวน้ำซึ่งมีปริมาณมากเป็นส่วนของพฤติกรรมภายในที่บุคคลกระทำโดยไม่รู้ตัว ซึ่งFreud วิเคราะห์ว่าอาจเกิดจากการถูกเก็บกดหรือพยายามจะลืม เช่น ความอิจฉา ความเกลียดชัง ความขมขื่นปวดร้าว บางเหตุการณ์เหมือนจะลืมไปจริงๆ แต่Freud อธิบายว่าแท้จริงสิ่งเหล่านั้นมิได้หายไปไหนแต่จะถูกเก็บไว้ในจิตไร้สำนึกและจะปรากฏออกมาในรูปของความฝัน การละเมอ เป็นต้น
นักจิตวิเคราะห์ให้ความสำคัญกับเรื่องจิตไร้สำนึกและการปฏิบัติงานของจิตไร้สำนึกเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตหรือระบบประสาท จิตไร้สำนึกจึงเป็นเหตุจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรมแทบทุกอย่าง นอกจากนั้นแนวคิดนี้ยังมีความเชื่อว่าพฤติกรรมทั้งหลายมีเหตุจูงใจมากกว่าพลังแรงขับทางเพศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม Freud ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของบุคคลดำเนินไปสู่จุดหมายของหลักแห่งความพึงพอใจ (Principle of Pleasure) หรือเพื่อความสบายใจเป็นสำคัญส่วนใหญ่เป็นการแสดงพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากสัญชาติญาณแห่งการดำรงพันธุ์ (Sexual Instinct) อีกทั้งพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกยังต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามหลักแห่งความจริง (Principle of Reality) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตามสภาพแวดล้อมของสังคมและวัฒนธรรม ฉะนั้น พฤติกรรมบางอย่างที่แสดงออกตามความพอใจ เช่น สัญชาติญาณแก่งการดำรงพันธุ์ซึ่งมีตั้งแต่เด็กจึงต้องถูกกดไว้ ในบางครั้งจึงเกิดภาวะการขัดแย้งอย่างรุนแรงผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นพลังแห่งงจิตไร้สำนึก
Freud กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญของจิตไว้ 3 ส่วน คือ Id Ego และSuper ego รวม เรียกว่า พลังจิต          Id เป็นสัญชาติญาณ และแรงขับที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นความต้องการดั้งเดิมของมนุษย์ เป็นแหล่งเก็บพลังงานจิตทั้งหมดที่มีอยู่ในจิตไร้สำนึก เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ การขับถ่าย การเคลื่อนไหว ความต้องการทางเพศ รวมทั้งสัญชาติญาณแห่งการทำลายและสัญชาติญาณแห่งความตาย (Death Instinct) มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความพอใจจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ตนเองได้ตามความต้องการ โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลหรือกฎระเบียบของสังคมใดๆ Id จึงเป็นความต้องงการใฝ่ต่ำที่มีพลังขับให้ทำตามความต้องการที่มีมาแต่เกิด และพลังขับที่มีแรงผลักดันมากคือ สัญชาติญาณทางเพศ
Ego เป็นพลังจิตส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมให้เหมาะสม ซึ่งบุคคลได้จากการเรียนรู้และการอบรม เป็นพลังที่ควบคุม Id ไม่ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม เป็นความพยายามในการปรับปรุงตัวให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ทางออกของ Ego ส่วนหนึ่งคือ การใช้กลวิธานในการป้องตนเอง (Defence Mechanism) เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายความทุกข์จากการเก็บกดและการระงับความขัดแย้งระหว่างความต้องการของตนเองกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี Ego เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมให้เป็นไปอย่างเหมาะสมระหว่าง Id และ Super ego
Super ego เป็นผลของการถูกลงโทษจากสังคมทำให้เกิดการเรียนรู้ จนกลายเป็นทัศนคติ (Attitude) คุณค่า (Value) และอุดมคติ (Ideal) เป็นความสามารถในการควบคุมตนเอง สามารถแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงได้ ดังนั้น Super ego จึงหมายถึง ค่านิยม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม คุณธรรม หลักศีลธรรมเป็นพลังที่กำหนดให้บุคคลแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับหลักแห่งความจริงและเลือกใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง (Defence Mechanism) อย่างเหมาะสม          นอกจากนั้น Freud ยังอธิบายว่า โครงสร้างของบุคลิกภาพมนุษย์ มี 5 ขั้น คือ          ขั้น Oral Stage (0-2 ปี ) เป็นขั้นที่ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การใช้ปาก การแสดงความสุขและความพอใจของมนุษย์ระยะนี้อยู่ที่การได้รับการตอบสนองจากการใช้ปาก เช่น การดูดนม การดูดนิ้วมือ นิ้วเท้า รวมทั้งการสัมผัสสิ่งต่างๆ ด้วยปาก ถ้าเด็กได้การตอบสนองให้มีความสุขความพอใจเต็มที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม แต่ถ้าถูกขัดขวางเด็กจะเกิดภาวะชะงักงัน (Fixation) เมื่อเติบโตขึ้นจะเป็นผู้ใหญ่ช่างนินทาว่าร้าย กินจุกกินจิก ติดบุหรี่ หมากฝรั่ง เป็นต้น          ขั้น Anal Stage (2-3 ปี) เป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะมีความสุข มีความพอใจในการขับถ่าย จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝึกเด็กขับถ่ายให้ตรงเวลาด้วยวิธีการผ่อนปรนและประนีประนอม ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เครียดและเติบโตขึ้นอย่างบุคคลที่มีบุคลิกภาพเหมาะสม แต่หากตรงข้าม การฝึกอย่างเข้มงวด เคร่งครัด ถูกทำโทษหรือฝึกหัดด้วยความฝืนใจจะทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ มีความเครียดและเก็บความรู้สึกโกรธไว้ในจิตไร้สำนึก ซึ่งจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมาจะกลายเป็นคนตระหนี่ จู้จี้ เจ้าระเบียบ เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ชอบทำร้ายผู้อื่น          ขั้น Phallic Stage (3-6 ปี) เป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่อวัยวะเพศ เด็กจะเริ่มสนใจอวัยวะเพศและเริ่มเรียนรู้การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและจะเริ่มรักพ่อแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนเอง เด็กชายจะต้องการความรักจากแม่มมากกว่าพ่อและเด็กหญิงจะรักพ่อมากกว่าแม่ Freud เรียกระยะนี้ว่า Oedipol Stage เด็กสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โยการที่เด็กชายเลียนแบบพฤติกรรมพ่อเพื่อให้แม่รัก หรือเด็กเลียนแบบแม่เพื่อให้พ่อรัก จากนั้นจะเข้าสู่บทบาทที่ถูกต้องตามเพศของตน แต่หากเกิดภาวะชะงักชะงัน (Fixation) ในขั้นนี้ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายไม่อาจแสดงบทบาททางเพศได้สมบูรณ์หรือขาดพ่อหรือแม่เพื่อเป็นตัวแบบ เด็กจะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติเมื่อโตขึ้น เช่น การเกิดภาวะรักร่วมเพศ (Homosexuality)
ขั้น Latency Stage (6-12 ปี) เรียกว่า ขั้นแฝง เป็นระยะสงบเงียบที่เด็กจะต้องเปลี่ยนแปลงเข้าสู้วัยรุ่น และเด็กจะมีพัฒนาการด้านสังคมและสติปัญญาเต็มที่และไม่มีปัญหาในเรื่องเพศ ระยะนี้เด็กชายจะหันมาสนใจพ่อมากกว่าแม่ และเด็กหญิงจะรักแม่มากกว่าพ่อ เด็กเริ่มเรียนรู้บทบาทของเพศเดียวกันจากพ่อและแม่มากขึ้น และเป็นระยะที่ไม่ชอบเพศตรงข้าม
ขั้น Genital Stage (12 ปีขึ้นไป) เป็นขั้นการสืบพันธุ์ เมื่อภาวะร่างกายเข้าสู่วัยรุ่น เด็กเริ่มมีวุฒิภาวะทางเพศและเป็นระยะที่เด็กต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมายทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม อย่างไรก็ตาม Freud เชื่อว่า ถ้าบุคคลสามารถผ่านขั้นตอนการพัฒนาในระยะ 3 ขั้นแรกได้จะนำไปสู่ภาวะทางอารมณ์อย่างสมบูรณ์ที่สุด
( ที่มาhttps://sites.google.com/site/somdejamulet/8-khx-khwr-ptibati-kxn-ptibati-fuk-smathi)

                4. กลุ่มพฤติกรรมนิยม
                                จอห์น บี วัตสัน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้นำแนวคิดที่สำคัญที่เสนอให้มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านที่สังเกตุและมองเห็นได้ ซึ่งจัดว่าเป็นการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้วัตสันได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิตวิทยาสมัยใหม่ แนวคิดของพฤติกรรมนิยมเน้นว่าพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุและเหตุนั้นอาจมาจากสิ่งเร้าในรูปใดก็ได้มากระทบอินทรีย์ ทำให้อินทรีย์มีพฤติกรรมตอบสนอง นักคิดในกลุ่มนี้จึงมักศึกษาพฤติกรรมต่างๆด้วยวิธีการทดลองและใช้การสังเกตอย่างมีระบบจากการทดลอง โดยสรุปว่าการวางเงื่อนไขเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและถ้าเรารู้สาเหตุของพฤติกรรมเราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้

                5.จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์(Gestalt Psychology)
                     กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า กลุ่มจิตวิทยาส่วนร่วม” คำว่า “Gestalt” หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด (totality หรือ configuration) กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดสมัยเดียวกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดในเยอรมัน กลุ่มพฤติกรรมนิยม เกิดในอเมริกา กลุ่มนี้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญานิยม”(cognitivism) ผู้นำกลุ่มที่สำคัญ คือ เวอร์ธไฮเมอร์ (Max Wertheimer, 1880 – 1943) และโคเลอร์ (Wolfgang Kohler, 1886 – 1941)
                  กลุ่มเกสตัลท์นิยมเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมบูรณาการ (integrated behavior) 
การศึกษาพฤติกรรมต้อง ศึกษาลักษณะของบุคคลเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ เพราะส่วนรวมก็คือส่วนรวม มีคุณค่าหรือคุณสมบัติต่างไปจาก ผลบวกของส่วนย่อย ๆ รวมกัน เช่น บ้าน” ย่อมมีคุณค่า มีความหมาย มีคุณสมบัติที่มากกว่าการเอาเสา เอากระดานพื้น กระดาน ตามประตูหน้าต่าง หลังค่า ฯลฯ มาต่อรวมเข้าด้วยกัน หรือตัวอย่างไนรูปพฤติกรรม เช่น การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม จะแสดงออกมาในรูปใด มักเนื่องมาจากคุณสมบัติโดยส่วนร่วมของคน ๆ นั้น โดยประสมประสานระหว่างความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ หรือความสามารถในการกระทำ ฯลฯ ไม่ได้เกิดเพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวและถึงแม้สิ่งเร้าของคนนั้น จะเป็นสิ่ง เดียวกัน แต่พฤตกรรมจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ และความสามารถ เปลี่ยนไปจากเดิม
            กลุ่มเกสตัลท์เน้นศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ รวมทั้งการเรียนรู้จากปัญญาความคิด เห็นว่าการรับรู้เป็นพื้นฐานนำให้เกิดการเรียนรู้ และคนเรามีความสามารถในการรับรู้ต่างกัน ส่งผลให้เรียนรู้และกระทำแตกต่างกัน การจะรับรู้ให้เข้าใจได้ดีจะต้อง รับรู้โดยส่วนรวมเสียก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนย่อย ๆ ของสิ่งนั้นทีละส่วนในภายหลัง และการเรียนรู้เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งความสามารถในการแก้ไขปัญหาขึ้นอยู่กับความสามารถในการหยั่งเห็น (insight) การหยั่งเห็นเป็นการคิดช่องทาง แก้ปัญหา ได้ฉับพลันจากการพิจารณาสภาวะรอบด้าน ถ้าเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดก็จะแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น เมื่อแก้ปัญหาได้ก็เกิดการเรียนรู้ แล้ว ซึ่งจะเป็นไปได้ดีเพียงใดขึ้นกับการใช้ความคิด ความเข้าใจ หรือสติปัญญาของผู้นั้น แนวคิดของกลุ่มนี้ได้ชื่อว่า ปัญญานิยมเนื่องจากเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมต้องศึกษาจากกระบวนการรับรู้และการคิดในสมองซึ่งเป็นตัวสั่งการให้เกิดพฤติกรรม
            การพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแนวคิดของเกสตัลท์นิยมนั้น จะต้องพัฒนาปรับเปลี่ยนความคิดก่อน รวมไปถึงการทำ ความเข้าใจและวินิจฉัยบุคคลที่จะต้องดูผู้นั้นเป็นส่วนรวม ต้องศึกษาเข้าในสภาพแวดล้อมทุกรูปแบบเพื่อให้รู้จักผู้นั้นได้โดยแท้จริง รวมทั้งได้แนวทางเข้าใจบุคคลโดยพิจารณาที่โลกแห่งการรับรู้ของเขา เนื่องจากจะรับรู้ตามความคิดภายใน มากกว่ารับรู้โลกเชิง ภูมิศาสตร์ตามความเป็นจิง เมื่อเข้าใจการรับรู้ของใคร
ก็ย่อมเข้าใจความคิดองผู้นั้นด้วย
 ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987) และ แมสโลว์ 
(Abraham H. Maslow, 1908-1970) คำอธิบายของกลุ่มนี้ถือว่าสมัยใหม่ สอดคล้องกับสังคมเปิดและสังคมประชาธิปไตย ได้ชื่อว่า พลังที่สาม (the third force) ซึ่งบางคมเรียกว่า คลื่นลูกที่สาม (the third wave) ความเชื่อเบื้องต้นของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม มีดังนี้
     5.1 มนุษย์มีจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ ทั้งยังมีขีดความสามารถเฉพาะตัวไม่ใช่จะกำหนดให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบของคนอื่น ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมที่เห็นว่า
เราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
    5.2 มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งพยายามที่จะรู้จัก เข้าใจตนเอง และต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน 
(self acturalization) จึงไม่ยากนักที่จะเสริมสร้างให้บุคคลคิดวิเคราะห์ เข้าใจตน และนำจุดดีมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเอง
        5.3 ข้อบังคับและระเบียบวินัยไม่สู้จำเป็นนักสำหรับผู้พัฒนาแล้ว ทุกคนต่างมุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนถ้าเขาได้รับการยอมรับ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตนจึงอยู่ที่การยอมรับตนเองและผู้อื่นให้ได้ก่อน
         5.4 บุคคลที่พร้อมต่อการปรับปรุงตนเองควรจะได้มีสิทธิเลือกการกระทำเลือกประสบการณ์ กำหนดความต้องการ และตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตนเอง (self mastery) เป็นการ ออกแบบชีวิตที่เหมาะสมตามทิศทาง     ของเขา
        5.5 วิธีการแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริง สำคัญกว่าตัวความรู้หรือตัวข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง
อยู่เสมอ ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงจะไม่ใช่สิ่งตายตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของบุคคล
มากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เน้นที่ตัวความรู้เพียงอย่างเดียว
     แนวคิดจากกลุ่มมนุษย์นิยมที่อาจนำไปใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรม คือ การเน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ 
เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด การทำเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล
เน้นให้บุคคลมองบวกในตน ยอมรับตนเอง และนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ซึ่งเป็นฐานทางใจให้มองบวกในคนอื่น ยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นและสังคม กับทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมด้วย
           หลักความเชื่อและแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษย์นิยมดังกล่าว มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับมากในปัจจุบันสำหรับในประเทศไทยของเราเองได้มีการตื่นตัวกันมากที่จะนำแนวคิดนี้มาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ปัญหาสังคมในบ้านเมืองเราขณะนี้ โดยนักการศึกษาส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าหากเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง แม้จะเผชิญกับความยุ่งยากในการนำทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์แม้มีอุปสรรคมากมายต่อการพัฒนาประเทศ แต่ประชากรที่มีคุณภาพน่าจะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ด้วยวิริยะอุตสาหะ ด้วยความหาญฉลาดแห่งปัญญา และด้วยคุณธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ซึ่งกลุ่มมนุษย์นิยมเชื่อว่า ถ้าเด็กถูกเลี้ยงในบรรยากาศของความรักความอบอุ่น เขาจะมีความรู้สึกมั่งคงปลอดภัย และจะเจริญเติบโตเป็นผู้เป็นผู้ใหญ่ที่มองโลกในแง่ดี มีน้ำใจให้คนอื่น ถ้าเด็กถูกเลี้ยงให้รู้จักช่วยตัวเองตามวัย ตามความถนัด ความสนใจและตามบทบาทหน้าที่ภายใต้การให้กำลังใจจากผู้ใหญ่ เด็กนั้นจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ในสังคมกลุ่มมนุษย์นิยมมีความเชื่อว่าการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนเรานั้นจะทำได้โดยให้คนมองเห็นส่วนดีในตนเองและเกิดแรงจูงใจในการนำส่วนดีมาใช้ประโยชน์ ให้รู้จักวางแผนชีวิตและสร้างพลังใจให้ดำเนินชีวิตไปตามแผน ให้ได้มีโอกาสศึกษาตนเองในแง่มุมต่าง ๆ และให้ได้แนวทางในการเรียนรู้บุคคลอื่น ๆ ที่แวดล้อมตนเพื่อปรับตนในการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างได้ประสิทธิภาพ เกิดการยอมรับตนเอง ยอมรับคนอื่น เมื่อยอมรับตนเองก็เกิดความเชื่อมั่น
ปฏิบัติตนเป็นธรรมชาติ ลดความก้าวร้าว และความเก็บกดลงไปได้ เมื่อยอมรับคนอื่นก็จะทำให้มองโลกในแง่ดี
ทำให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข (อ้างอิงจาก http://dit.dru.ac.th/home/023/human/05.htm)

   

ความสำคัญของจิตวิทยา,ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา

2. ความสำคัญของจิตวิทยา          
                จิตวิทยามีอิทธิพลและบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การศึกษาทางจิตวิทยาจะทำให้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเราเองและพฤติกรรมของคนในสังคมต่อการกระทำที่เกิดขึ้น จึงทำให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินเหตุการณ์ต่างๆได้

            ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกายในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
             กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา

          3.ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
                     เดิมจิตวิทยาอยู่ในสาขาของวิชาปรัชญา นั่นก็คือการหาความจริงต่างๆ ในสมัยโบราณจิตวิทยาใช้วิธี ค้นหาความจริงโดยการคาดคะเนความจริงและหาเหตุผลส่วนตัวของนักปราชญ์มาประกอบกับการอธิบาย 
          ความจริงที่ได้ค้นพบ มนุษย์นั้นมีความสนใจและพยายามค้นหาความจริงเกี่ยวกับตัวเองตั้งแต่สมัยโบราณ แล้ว กล่าวคือ
                  1.ยุคโชคลางในสมัยโบราณ เกิดจากความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ และเข้าใจกันว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องพัวพันอยู่กับสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆ เช่น ผีสาง เทวดา แม่มด หมอผี และมักจะเชื่อในเรื่องโชคลางต่างๆ ความเชื่ออย่างนี้ปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยอยู่
                 2.ยุคปรัชญา เป็นระยะเวลาที่ต่อจากยุคโชคลาง โดยมีนักปราชญ์ต่างๆช่วยกันคิดค้นหาความหมายของ ชีวิต เช่น ค้นหาว่าชีวิตที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร เมื่อชีวิตดับแล้วจะเกิดอะไรขึ้น จิตหรือวิญญาณคืออะไร อยู่ที่ไหน เป็นต้นปรัชญานั้นประกอบไปด้วยความนึกคิดอันชาญฉลาดที่แสดงให้เห็นถึงอุดมคติและทัศนคติส่วนตัวของนักปราชญ์
                3.ยุคค้นคว้า ระยะต่อมามนุษย์เริ่มสนใจค้นหาข้อเท็จจริงมากขึ้น พวกที่สนใจปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ค้นพบสาขาวิชาแตกแขนงออกไป เช่น คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ พวกที่ค้นคว้าเกี่ยวกับมนุษย์เช่น กายวิภาค สรีรศาสตร์ เป็นต้น จิตวิทยาก็เป็นวิชาหนึ่งที่แยกมาจากปรัชญาและมีวิชาที่แยกตามอีกคือสังคมศาสตร์  อาจกล่าวได้ว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่อยู่กึ่งกลางระหว่างชีววิทยากับสังคมศาสตร์ การตีความของวิชานี้จึง แตกต่างกันไปจนทำให้เกิด สำนักศึกษา หรือกลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา เกิดขึ้นหลายกลุ่มในยุคการศึกษาเรื่องจิตนี้ นักปราชญ์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น ล็อค เป็นบุคคลสำคัญที่กล่าวว่า จิตคือการที่บุคคลรู้สึกตัว ซึ่งเขาเรียกสิ่งนี้ว่าจิตสำนึก นั่นคือการที่คนเรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ มนุษย์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 คือกายและจิตใจ ส่วนที่สำคัญที่สุดของจิต คือ ส่วนที่ควบคุมหรือสั่งการกระทำให้เกิดการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกายแต่ในที่สุด การศึกษาจิตวิทยาในลักษณะของจิตก็ได้รับความนิยมลดลงเนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ในปี ค.ศ. 1879 วิลเฮล์ม วุ้นด์ท (Wilhem Wund 1832-1920) บิดาแห่งจิตวิทยาผู้ซึ่งทำให้จิตวิทยแยกตัวออกมาจากปรัชญา จนได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ห้องทดลองทางจิตวิทยาถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องโครงสร้างของจิตสำนึกของมนุษย์(Conscious)ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง


วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความหมายของจิตวิทยา(Psychology)


                                    Psyche แปลว่า จิตใจ       
คำว่า Psychology (จิตวิทยา)มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ ได้แก่ 
                             Psyche (Mind = จิตใจ)
                            Logos แปลว่า การศึกษา ,การเรียนรู้ (Knowledge = ศาสตร์,องค์ความรู้) 
                          ความหมายโดยรวมของ Psychology  หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของอินทรีย์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นสำคัญ เพื่ออธิบาย ทำความเข้าใจทำนาย และควบคุมพฤติกรรมนั้นๆได้
1.  ความหมายของจิต
            ความหมายของจิตวิทยาที่เป็นยอมรับในปัจจุบัน คือศาสตร์ที่ศึกษาทั้งพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตด้วยระเบียบวิธีเชิงวิทยาศาสตร์  ( Feldman.1996 : 5)
  จุดประสงค์ในการศึกษาจิตวิทยาของนักจิตวิทยามี 4 ประการ (Matlin.1995:2)
  1. ต้องการบรรยาย ลักษณะพื้นฐานของพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตโดยใช้การสังเกตอย่างเป็นระบบ
  2. ต้องการอธิบายว่าทำไมพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตเกิดขึ้นไม่ได้
  3. ต้องการทำนาย เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตบนพื้นฐานของเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา
  4. ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตให้มีลักษณะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
  5. ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตให้มีลักษณะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น