แบบประเมินผลก่อนเรียน
1.จิตวิทยาเป็นวิชาที่ให้ความรู้เรื่องการอ่านใจคน
ใช่หรือไม่
?
2. จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต
ใช่หรือไม่
?
3. การสัมผัสเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมากกว่าการรับรู้ ใช่หรือไม่
?
4. ท่านมีความเชื่อว่านักจิตวิทยาเชื่อในเรื่องหูทิพย์ตาทิพย์ ใช่หรือไม่ ?
5. คลื่นสมองบุคคลที่หลับจะต่างจากคลื่นสมองของบุคคลที่ตื่น ถูกหรือผิด?
6. นักจิตวิทยาเชื่อว่าความฝันมักออกมาในรูปสัญลักษณ์มากกว่า
การสื่อความหมายโดยตรง ถูกหรือผิด?
7. ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการคิดได้หลากหลายใหม่ๆ
ไม่ธรรมดาและเป็นประโยชน์
ถูกหรือผิด?
8. วิธีการเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือการให้สิ่งเสริมแรง ถูกหรือผิด?
9. การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ถูกหรือผิด?
10.
การลืมมีสาเหตุมาจากการไม่ได้ลงรหัส ขาดสิ่งชี้แนะและการเก็บกด ถูกหรือผิด?
บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาทั่วไป
จิตวิทยา (Psychology)
คำว่า Psychology (จิตวิทยา)มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ ได้แก่ Psyche (Mind = จิตใจ) และ Logos (Knowledge = ศาสตร์ องค์ความรู้)
ความหมายโดยรวมของ Psychology จึงหมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของอินทรีย์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นสำคัญ เพื่ออธิบาย ทำความเข้าใจทำนาย และควบคุมพฤติกรรมนั้นๆได้
ความหมายโดยรวมของ Psychology จึงหมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของอินทรีย์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นสำคัญ เพื่ออธิบาย ทำความเข้าใจทำนาย และควบคุมพฤติกรรมนั้นๆได้
1.
ความหมายของจิต
ความหมายของจิตวิทยาที่เป็นยอมรับในปัจจุบัน
คือศาสตร์ที่ศึกษาทั้งพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตด้วยระเบียบวิธีเชิงวิทยาศาสตร์ ( Feldman.1996 : 5)
จุดประสงค์ในการศึกษาจิตวิทยาของนักจิตวิทยามี
4 ประการ (Matlin.1995:2)
1.
ต้องการบรรยาย
ลักษณะพื้นฐานของพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตโดยใช้การสังเกตอย่างเป็นระบบ
2.
ต้องการอธิบายว่าทำไมพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตเกิดขึ้นไม่ได้
3.
ต้องการทำนาย
เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตบนพื้นฐานของเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา
4.
ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตให้มีลักษณะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
5.
ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตให้มีลักษณะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
2. ความสำคัญของจิตวิทยา
จิตวิทยามีอิทธิพลและบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
การศึกษาทางจิตวิทยาจะทำให้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเราเองและพฤติกรรมของคนในสังคมต่อการกระทำที่เกิดขึ้น
จึงทำให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินเหตุการณ์ต่างๆได้
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13
ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกายในคริสต์ศตวรรษที่ 15
การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ
มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ
วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง
การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา
3.ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
เดิมจิตวิทยาอยู่ในสาขาของวิชาปรัชญา นั่นก็คือการหาความจริงต่างๆ
ในสมัยโบราณจิตวิทยาใช้วิธี
ค้นหาความจริงโดยการคาดคะเนความจริงและหาเหตุผลส่วนตัวของนักปราชญ์มาประกอบกับการอธิบาย
ความจริงที่ได้ค้นพบ
มนุษย์นั้นมีความสนใจและพยายามค้นหาความจริงเกี่ยวกับตัวเองตั้งแต่สมัยโบราณ
แล้ว กล่าวคือ
1.ยุคโชคลางในสมัยโบราณ เกิดจากความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ
และเข้าใจกันว่าธรรมชาติ
ของมนุษย์นั้นต้องพัวพันอยู่กับสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆ
เช่น ผีสาง เทวดา แม่มด หมอผี และมักจะ
เชื่อในเรื่องโชคลางต่างๆ
ความเชื่ออย่างนี้ปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยอยู่
2.ยุคปรัชญา เป็นระยะเวลาที่ต่อจากยุคโชคลาง
โดยมีนักปราชญ์ต่างๆช่วยกันคิดค้นหาความหมายของ
ชีวิต เช่น
ค้นหาว่าชีวิตที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร เมื่อชีวิตดับแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
จิตหรือวิญญาณคืออะไร อยู่ที่
ไหน
เป็นต้นปรัชญานั้นประกอบไปด้วยความนึกคิดอันชาญฉลาดที่แสดงให้เห็นถึงอุดมคติและทัศนคติ
ส่วนตัวของนักปราชญ์
3.ยุคค้นคว้า ระยะต่อมามนุษย์เริ่มสนใจค้นหาข้อเท็จจริงมากขึ้น
พวกที่สนใจปรากฏการณ์ธรรมชาติได้
ค้นพบสาขาวิชาแตกแขนงออกไป เช่น
คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ พวกที่ค้นคว้าเกี่ยวกับมนุษย์เช่น กายวิภาค
สรีรศาสตร์ เป็นต้น
จิตวิทยาก็เป็นวิชาหนึ่งที่แยกมาจากปรัชญาและมีวิชาที่แยกตามอีกคือสังคมศาสตร์ อาจ
กล่าวได้ว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่อยู่กึ่งกลางระหว่างชีววิทยากับสังคมศาสตร์
การตีความของวิชานี้จึงแตก
แตกต่างกันไปจนทำให้เกิด สำนักศึกษา
หรือกลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา เกิดขึ้นหลายกลุ่ม
ในยุคการศึกษาเรื่องจิตนี้
นักปราชญ์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น ล็อค เป็นบุคคลสำคัญที่กล่าวว่า
จิตคือการที่บุคคลรู้สึกตัว ซึ่งเขาเรียกสิ่งนี้ว่าจิตสำนึก
นั่นคือการที่คนเรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่
มนุษย์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 คือกายและจิตใจ
ส่วนที่สำคัญที่สุดของจิต คือ
ส่วนที่ควบคุมหรือสั่งการกระทำให้เกิดการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกายแต่ในที่สุด
การศึกษาจิตวิทยาในลักษณะของจิตก็ได้รับความนิยมลดลงเนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้
ในปี ค.ศ. 1879 วิลเฮล์ม วุ้นด์ท (Wilhem Wund 1832-1920) บิดาแห่งจิตวิทยาผู้ซึ่งทำให้จิตวิทยแยกตัวออกมาจากปรัชญา
จนได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ห้องทดลองทางจิตวิทยาถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องโครงสร้างของจิตสำนึกของมนุษย์(Conscious)ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
4. จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา
จิตวิทยาเป็นวิชาที่จัดอยู่ในกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรม (Understanding Behavior) ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก กระบวนการทางจิต (Mental Process) ที่เกิดขึ้นภายใน อันจะทำให้สามารถเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้อย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้น
จิตวิทยาเป็นวิชาที่จัดอยู่ในกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรม (Understanding Behavior) ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก กระบวนการทางจิต (Mental Process) ที่เกิดขึ้นภายใน อันจะทำให้สามารถเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้อย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้น
2.
เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรม (Explanation
Behavior) ทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้
พฤติกรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นนั้นต่างมีเหตุจูงใจในการแสดงพฤติกรรมทั้งสิ้น
ดังนั้นนักจิตวิทยาจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ
เพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญแห่งพฤติกรรมที่แสดงออกนั้น ๆ
3. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรม (Prediction Behavior) ซึ่งการทำนายนั้นหมายถึงการคาดคะเนผลที่ควรจะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
4. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถควบคุมพฤติกรรม (Control Behavior) ที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงหรือหมดไป โดยในขณะเดียวกันนั้นก็จะต้องสามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นใหม่ด้วย
5. เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Application) ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง และ/หรือสังคมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรม (Prediction Behavior) ซึ่งการทำนายนั้นหมายถึงการคาดคะเนผลที่ควรจะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
4. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถควบคุมพฤติกรรม (Control Behavior) ที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงหรือหมดไป โดยในขณะเดียวกันนั้นก็จะต้องสามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นใหม่ด้วย
5. เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Application) ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง และ/หรือสังคมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5. แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ
กลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา (Schools of Psychology) หมายถึง
แนวคิด
ทฤษฎีที่สำคัญและระเบียบวิธีการทางจิตวิทยาเพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจและเปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึงของกลุ่มเป็นการจัดระเบียบแนวคิดให้เป็นหมวดหมู่ตามความเชื่อและวิธีการศึกษา
โดยจัดแบ่งได้ 5 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
William
Wundt ผู้นำกลุ่มโครงสร้างแห่งจิต(Structuralism)
1.
กลุ่มโครงสร้างแห่งจิต (Structuralism)
ผู้นำกลุ่มความคิดนี้ คือ วิลเฮล์ม
วุนด์ท กลุ่มนี้เกิดขึ้นในยุคศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงความเจริญก้าวหน้าของวิชาเคมีที่มีการวิเคราะห์
สารประกอบของธาตุต่างๆ โดยอาศัยการตรวจพินิจภายในที่เกิดจากการใช้ความรู้สึก
การสัมผัสและมโนภาพ ดังนั้นจุดประสงค์ของการศึกษาในกลุ่มนี้คือ
การวิเคราะห์หาโครงสร้างของจิตโดยเรียกกระบวนการศึกษาจิตวิธีนี้ว่า การพินิภายใน (Introspection) เป็นการให้ผู้ถูกทดลองพิจารณาประสบการณ์ทางจิตตนเองขณะได้รับสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัส
อธิบายความรู้สึกของตนที่เกิดขึ้น มีแนวคิดเบื้องต้นที่เป็นมูลเหตุให้สนใจศึกษาเรื่องจิตธาตุ (Mental Elements) มาจากความเชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย (Body) กับจิตใจ (mind) ซึ่งต่างเป็นอิสระต่อกันแต่ทำงานสัมพันธ์กัน ดังนั้น
การกระทำของบุคคลจึงเกิดจากการควบคุมและสั่งการจิตใจ ผู้นำกลุ่มนี้ คือ William
Wundtเขาสรุปว่าส่วนนี้มาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดเป็นความคิด
อารมณ์ ความจำ เป็นต้น
John
Dewey ผู้นำกลุ่มหน้าที่แห่งจิต (Functionalism)
2. กลุ่มหน้าที่แห่งจิต (Functionalism)
กลุ่มนี้เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1900 ผู้นำกลุ่มคือ John
Dewey หรือ William James แนวคิดของกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากลัทธิปรัชญากลุ่มปฏิบัตินิยม (Pragmatism) และทฤษฎีที่สำคัญทางชีววิทยาคือ
ทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาล์ส ดาร์วิน (Chartles
Darwin) จึงเกิดการรวมตัวขิง 2 กลุ่มนี้ขึ้น
ทฤษฎีวิวัฒนาการอธิบายถึงการดำรงอยู่ของสัตว์ที่ต้องต่อสู้และปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
ซึ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตควรต้องศึกษาหน้าที่ของจิตต่อการปรับตัวภายในจิตใต้สำนึกมากกว่าการแยกแยะองค์ประกอบโครงสร้างของจิตออกเป็นส่วนๆ
กลุ่มนี้เชื่อว่าจิตสำนึกของมนุษย์ทำให้กระบวนการคิดและการตัดสินใจช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้
กล่าวโดยสรุปคือ
กกลุ่มนี้เชื่อว่าจิตมีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมเพื่อปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตามทั้ง John Dewey และ William
James ก็มีจุดเน้นที่ต่างกัน John Dewey เชื่อว่าเป็นประสบการณ์(Experience) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ William James เชื่อในเรื่องสัญชาติญาณ (Instinct) ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญกว่า
กลุ่มหน้าที่ของจิตใช้วิธีการศึกษาแบบสอบถาม
การทดลองทางจิตวิทยาและวิธีพรรณนาเกี่ยวกับเชิงปรนัยมิใช่ใช้เพียงการพินิจภายในเพียงอย่างเดียว
นอกจากนั้น John Dewey ยังได้นำหลักของความคิดแนวนี้มาใช้กับการศึกษา
โดยเขาเห็นว่าการเรียนการสอนควรมีจุดเน้นที่ความต้องการของผู้เรียนไม่ใช่เนื้อหาในหลักสูตร
กล่าวโดยสรุป แนวคิดของกลุ่ม Functionalism เป็นดังนี้
- การกระทำทั้งหมดหรือการแสดงออกมนุษย์เป็นการแสดงออกของจิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การศึกษาจิตใจคนจึงต้องศึกษาที่การแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ
- การกระทำหรือการแสดงออกทั้งหมดเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
พฤติกรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป
Sigmund
Freud ผู้นำกลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychology)
3. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychology)
ผู้นำกลุ่มคือ Sigmund
Freud จิตแพทย์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย
เป็นผู้วางรากฐานของจิตวิทยาคลินิก
ทฤษฎีของเขาเริ่มจากการศึกษาคนไข้โรคจิตในคลินิกของตัวเอง จุดเน้นของจิตวิเคราะห์อยู่ที่การประยุกต์วิธีใหม่ในการบำบัดรักษาบุคคลที่มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ
ข้อมูลส่วนใหญ่จึงได้จากการสังเกตในคลินิกมิได้มาจากทำลองในห้องปฏิบัติการ
พื้นฐานแนวคิดนี้มาจากความสนใจเกี่ยวกับจิตใต้สำนึกและเชื่อว่าแรงขับทางเพศมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มาก
ความคิดหลักของ Freud คือ
จิตมีลักษณะเป็นพลังงานเรียกว่า พลังจิตซึ่งควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของบุคคล
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของ Freud ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยอย่างมาก
Freud อธิบายว่า จิตของมนุษย์มี 3 ระดับ โดยเปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง (Ice burg) คือ
จิตสำนึก (Conscious mind) เปรียบเหมือน Ice burg ส่วนที่พ้นผิวน้ำซึ่งมีปริมาณเล็กน้อยเป็นสภาพที่บุคคลมีสติ รู้ตัว การแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผลและแรงผลักดันภายนอกสอดคล้องกับหลักของความจริง (Principle of Reality)
จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) หรือจิตกึ่งสำนึก (Preconscious) เปรียบเหมือน Ice burg ที่อยู่ปริ่มผิวน้ำ เป็นสภาพที่บุคคลมีพฤติกรรมไม่รู้ตัวในบางขณะ หรือพูดโดยไม่ตั้งใจ ประสบการณ์ที่ผ่านมากลลายเป็นความทรงจำในอดีตที่จะถูกเก็บไว้ในจิตส่วนนี้ เมื่อไม่นึกถึงก็จะไม่รู้สึกอะไรแต่เมื่อนึกถึงจะสะเทือนใจทุกครั้ง
จิตสำนึก (Conscious mind) เปรียบเหมือน Ice burg ส่วนที่พ้นผิวน้ำซึ่งมีปริมาณเล็กน้อยเป็นสภาพที่บุคคลมีสติ รู้ตัว การแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผลและแรงผลักดันภายนอกสอดคล้องกับหลักของความจริง (Principle of Reality)
จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) หรือจิตกึ่งสำนึก (Preconscious) เปรียบเหมือน Ice burg ที่อยู่ปริ่มผิวน้ำ เป็นสภาพที่บุคคลมีพฤติกรรมไม่รู้ตัวในบางขณะ หรือพูดโดยไม่ตั้งใจ ประสบการณ์ที่ผ่านมากลลายเป็นความทรงจำในอดีตที่จะถูกเก็บไว้ในจิตส่วนนี้ เมื่อไม่นึกถึงก็จะไม่รู้สึกอะไรแต่เมื่อนึกถึงจะสะเทือนใจทุกครั้ง
จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) เปรียบเหมือน Ice
burg ที่อยู่ใต้ผิวน้ำซึ่งมีปริมาณมากเป็นส่วนของพฤติกรรมภายในที่บุคคลกระทำโดยไม่รู้ตัว
ซึ่งFreud วิเคราะห์ว่าอาจเกิดจากการถูกเก็บกดหรือพยายามจะลืม
เช่น ความอิจฉา ความเกลียดชัง ความขมขื่นปวดร้าว บางเหตุการณ์เหมือนจะลืมไปจริงๆ
แต่Freud อธิบายว่าแท้จริงสิ่งเหล่านั้นมิได้หายไปไหนแต่จะถูกเก็บไว้ในจิตไร้สำนึกและจะปรากฏออกมาในรูปของความฝัน
การละเมอ เป็นต้น
นักจิตวิเคราะห์ให้ความสำคัญกับเรื่องจิตไร้สำนึกและการปฏิบัติงานของจิตไร้สำนึกเป็นอย่างมาก
เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตหรือระบบประสาท
จิตไร้สำนึกจึงเป็นเหตุจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรมแทบทุกอย่าง
นอกจากนั้นแนวคิดนี้ยังมีความเชื่อว่าพฤติกรรมทั้งหลายมีเหตุจูงใจมากกว่าพลังแรงขับทางเพศอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม Freud ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของบุคคลดำเนินไปสู่จุดหมายของหลักแห่งความพึงพอใจ (Principle of Pleasure) หรือเพื่อความสบายใจเป็นสำคัญส่วนใหญ่เป็นการแสดงพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากสัญชาติญาณแห่งการดำรงพันธุ์ (Sexual Instinct) อีกทั้งพฤติกรรมต่างๆ
ที่แสดงออกยังต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามหลักแห่งความจริง (Principle of Reality) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตามสภาพแวดล้อมของสังคมและวัฒนธรรม
ฉะนั้น พฤติกรรมบางอย่างที่แสดงออกตามความพอใจ เช่น
สัญชาติญาณแก่งการดำรงพันธุ์ซึ่งมีตั้งแต่เด็กจึงต้องถูกกดไว้
ในบางครั้งจึงเกิดภาวะการขัดแย้งอย่างรุนแรงผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นพลังแห่งงจิตไร้สำนึก
Freud กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญของจิตไว้ 3 ส่วน คือ Id Ego และSuper ego รวม เรียกว่า พลังจิต
Id เป็นสัญชาติญาณ และแรงขับที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นความต้องการดั้งเดิมของมนุษย์ เป็นแหล่งเก็บพลังงานจิตทั้งหมดที่มีอยู่ในจิตไร้สำนึก เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ การขับถ่าย การเคลื่อนไหว ความต้องการทางเพศ รวมทั้งสัญชาติญาณแห่งการทำลายและสัญชาติญาณแห่งความตาย (Death Instinct) มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความพอใจจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ตนเองได้ตามความต้องการ โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลหรือกฎระเบียบของสังคมใดๆ Id จึงเป็นความต้องงการใฝ่ต่ำที่มีพลังขับให้ทำตามความต้องการที่มีมาแต่เกิด และพลังขับที่มีแรงผลักดันมากคือ สัญชาติญาณทางเพศ
Id เป็นสัญชาติญาณ และแรงขับที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นความต้องการดั้งเดิมของมนุษย์ เป็นแหล่งเก็บพลังงานจิตทั้งหมดที่มีอยู่ในจิตไร้สำนึก เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ การขับถ่าย การเคลื่อนไหว ความต้องการทางเพศ รวมทั้งสัญชาติญาณแห่งการทำลายและสัญชาติญาณแห่งความตาย (Death Instinct) มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความพอใจจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ตนเองได้ตามความต้องการ โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลหรือกฎระเบียบของสังคมใดๆ Id จึงเป็นความต้องงการใฝ่ต่ำที่มีพลังขับให้ทำตามความต้องการที่มีมาแต่เกิด และพลังขับที่มีแรงผลักดันมากคือ สัญชาติญาณทางเพศ
Ego เป็นพลังจิตส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมให้เหมาะสม
ซึ่งบุคคลได้จากการเรียนรู้และการอบรม เป็นพลังที่ควบคุม Id ไม่ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม
ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม
เป็นความพยายามในการปรับปรุงตัวให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ทางออกของ Ego ส่วนหนึ่งคือ การใช้กลวิธานในการป้องตนเอง (Defence
Mechanism) เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายความทุกข์จากการเก็บกดและการระงับความขัดแย้งระหว่างความต้องการของตนเองกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี Ego เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมให้เป็นไปอย่างเหมาะสมระหว่าง Id และ Super ego
Super ego เป็นผลของการถูกลงโทษจากสังคมทำให้เกิดการเรียนรู้
จนกลายเป็นทัศนคติ (Attitude) คุณค่า (Value) และอุดมคติ (Ideal) เป็นความสามารถในการควบคุมตนเอง
สามารถแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงได้ ดังนั้น Super
ego จึงหมายถึง ค่านิยม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม คุณธรรม หลักศีลธรรมเป็นพลังที่กำหนดให้บุคคลแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับหลักแห่งความจริงและเลือกใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง (Defence Mechanism) อย่างเหมาะสม
นอกจากนั้น Freud ยังอธิบายว่า โครงสร้างของบุคลิกภาพมนุษย์ มี 5 ขั้น คือ
ขั้น Oral Stage (0-2 ปี ) เป็นขั้นที่ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การใช้ปาก การแสดงความสุขและความพอใจของมนุษย์ระยะนี้อยู่ที่การได้รับการตอบสนองจากการใช้ปาก เช่น การดูดนม การดูดนิ้วมือ นิ้วเท้า รวมทั้งการสัมผัสสิ่งต่างๆ ด้วยปาก ถ้าเด็กได้การตอบสนองให้มีความสุขความพอใจเต็มที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม แต่ถ้าถูกขัดขวางเด็กจะเกิดภาวะชะงักงัน (Fixation) เมื่อเติบโตขึ้นจะเป็นผู้ใหญ่ช่างนินทาว่าร้าย กินจุกกินจิก ติดบุหรี่ หมากฝรั่ง เป็นต้น
ขั้น Anal Stage (2-3 ปี) เป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะมีความสุข มีความพอใจในการขับถ่าย จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝึกเด็กขับถ่ายให้ตรงเวลาด้วยวิธีการผ่อนปรนและประนีประนอม ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เครียดและเติบโตขึ้นอย่างบุคคลที่มีบุคลิกภาพเหมาะสม แต่หากตรงข้าม การฝึกอย่างเข้มงวด เคร่งครัด ถูกทำโทษหรือฝึกหัดด้วยความฝืนใจจะทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ มีความเครียดและเก็บความรู้สึกโกรธไว้ในจิตไร้สำนึก ซึ่งจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมาจะกลายเป็นคนตระหนี่ จู้จี้ เจ้าระเบียบ เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ชอบทำร้ายผู้อื่น
ขั้น Phallic Stage (3-6 ปี) เป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่อวัยวะเพศ เด็กจะเริ่มสนใจอวัยวะเพศและเริ่มเรียนรู้การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและจะเริ่มรักพ่อแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนเอง เด็กชายจะต้องการความรักจากแม่มมากกว่าพ่อและเด็กหญิงจะรักพ่อมากกว่าแม่ Freud เรียกระยะนี้ว่า Oedipol Stage เด็กสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โยการที่เด็กชายเลียนแบบพฤติกรรมพ่อเพื่อให้แม่รัก หรือเด็กเลียนแบบแม่เพื่อให้พ่อรัก จากนั้นจะเข้าสู่บทบาทที่ถูกต้องตามเพศของตน แต่หากเกิดภาวะชะงักชะงัน (Fixation) ในขั้นนี้ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายไม่อาจแสดงบทบาททางเพศได้สมบูรณ์หรือขาดพ่อหรือแม่เพื่อเป็นตัวแบบ เด็กจะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติเมื่อโตขึ้น เช่น การเกิดภาวะรักร่วมเพศ (Homosexuality)
นอกจากนั้น Freud ยังอธิบายว่า โครงสร้างของบุคลิกภาพมนุษย์ มี 5 ขั้น คือ
ขั้น Oral Stage (0-2 ปี ) เป็นขั้นที่ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การใช้ปาก การแสดงความสุขและความพอใจของมนุษย์ระยะนี้อยู่ที่การได้รับการตอบสนองจากการใช้ปาก เช่น การดูดนม การดูดนิ้วมือ นิ้วเท้า รวมทั้งการสัมผัสสิ่งต่างๆ ด้วยปาก ถ้าเด็กได้การตอบสนองให้มีความสุขความพอใจเต็มที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม แต่ถ้าถูกขัดขวางเด็กจะเกิดภาวะชะงักงัน (Fixation) เมื่อเติบโตขึ้นจะเป็นผู้ใหญ่ช่างนินทาว่าร้าย กินจุกกินจิก ติดบุหรี่ หมากฝรั่ง เป็นต้น
ขั้น Anal Stage (2-3 ปี) เป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะมีความสุข มีความพอใจในการขับถ่าย จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝึกเด็กขับถ่ายให้ตรงเวลาด้วยวิธีการผ่อนปรนและประนีประนอม ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เครียดและเติบโตขึ้นอย่างบุคคลที่มีบุคลิกภาพเหมาะสม แต่หากตรงข้าม การฝึกอย่างเข้มงวด เคร่งครัด ถูกทำโทษหรือฝึกหัดด้วยความฝืนใจจะทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ มีความเครียดและเก็บความรู้สึกโกรธไว้ในจิตไร้สำนึก ซึ่งจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมาจะกลายเป็นคนตระหนี่ จู้จี้ เจ้าระเบียบ เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ชอบทำร้ายผู้อื่น
ขั้น Phallic Stage (3-6 ปี) เป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่อวัยวะเพศ เด็กจะเริ่มสนใจอวัยวะเพศและเริ่มเรียนรู้การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและจะเริ่มรักพ่อแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนเอง เด็กชายจะต้องการความรักจากแม่มมากกว่าพ่อและเด็กหญิงจะรักพ่อมากกว่าแม่ Freud เรียกระยะนี้ว่า Oedipol Stage เด็กสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โยการที่เด็กชายเลียนแบบพฤติกรรมพ่อเพื่อให้แม่รัก หรือเด็กเลียนแบบแม่เพื่อให้พ่อรัก จากนั้นจะเข้าสู่บทบาทที่ถูกต้องตามเพศของตน แต่หากเกิดภาวะชะงักชะงัน (Fixation) ในขั้นนี้ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายไม่อาจแสดงบทบาททางเพศได้สมบูรณ์หรือขาดพ่อหรือแม่เพื่อเป็นตัวแบบ เด็กจะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติเมื่อโตขึ้น เช่น การเกิดภาวะรักร่วมเพศ (Homosexuality)
ขั้น Latency Stage (6-12 ปี) เรียกว่า ขั้นแฝง
เป็นระยะสงบเงียบที่เด็กจะต้องเปลี่ยนแปลงเข้าสู้วัยรุ่น
และเด็กจะมีพัฒนาการด้านสังคมและสติปัญญาเต็มที่และไม่มีปัญหาในเรื่องเพศ ระยะนี้เด็กชายจะหันมาสนใจพ่อมากกว่าแม่
และเด็กหญิงจะรักแม่มากกว่าพ่อ
เด็กเริ่มเรียนรู้บทบาทของเพศเดียวกันจากพ่อและแม่มากขึ้น
และเป็นระยะที่ไม่ชอบเพศตรงข้าม
ขั้น Genital Stage (12 ปีขึ้นไป) เป็นขั้นการสืบพันธุ์
เมื่อภาวะร่างกายเข้าสู่วัยรุ่น เด็กเริ่มมีวุฒิภาวะทางเพศและเป็นระยะที่เด็กต้องเผชิญปัญหาต่างๆ
มากมายทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม อย่างไรก็ตาม Freud เชื่อว่า ถ้าบุคคลสามารถผ่านขั้นตอนการพัฒนาในระยะ 3 ขั้นแรกได้จะนำไปสู่ภาวะทางอารมณ์อย่างสมบูรณ์ที่สุด
( ที่มาhttps://sites.google.com/site/somdejamulet/8-khx-khwr-ptibati-kxn-ptibati-fuk-smathi)
4. กลุ่มพฤติกรรมนิยม
จอห์น บี วัตสัน
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ผู้นำแนวคิดที่สำคัญที่เสนอให้มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านที่สังเกตุและมองเห็นได้
ซึ่งจัดว่าเป็นการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้วัตสันได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิตวิทยาสมัยใหม่
แนวคิดของพฤติกรรมนิยมเน้นว่าพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุและเหตุนั้นอาจมาจากสิ่งเร้าในรูปใดก็ได้มากระทบอินทรีย์
ทำให้อินทรีย์มีพฤติกรรมตอบสนอง
นักคิดในกลุ่มนี้จึงมักศึกษาพฤติกรรมต่างๆด้วยวิธีการทดลองและใช้การสังเกตอย่างมีระบบจากการทดลอง
โดยสรุปว่าการวางเงื่อนไขเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและถ้าเรารู้สาเหตุของพฤติกรรมเราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้
5.จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์(Gestalt
Psychology)
กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า
“กลุ่มจิตวิทยาส่วนร่วม” คำว่า “Gestalt”
หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด (totality หรือ configuration)
กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดสมัยเดียวกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม
กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดในเยอรมัน กลุ่มพฤติกรรมนิยม เกิดในอเมริกา
กลุ่มนี้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ปัญญานิยม”(cognitivism) ผู้นำกลุ่มที่สำคัญ คือ
เวอร์ธไฮเมอร์ (Max Wertheimer, 1880 – 1943) และโคเลอร์ (Wolfgang
Kohler, 1886 – 1941)
กลุ่มเกสตัลท์นิยมเชื่อว่า
พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมบูรณาการ (integrated behavior)
การศึกษาพฤติกรรมต้อง ศึกษาลักษณะของบุคคลเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ เพราะส่วนรวมก็คือส่วนรวม มีคุณค่าหรือคุณสมบัติต่างไปจาก ผลบวกของส่วนย่อย ๆ รวมกัน เช่น “บ้าน” ย่อมมีคุณค่า มีความหมาย มีคุณสมบัติที่มากกว่าการเอาเสา เอากระดานพื้น กระดาน ตามประตูหน้าต่าง หลังค่า ฯลฯ มาต่อรวมเข้าด้วยกัน หรือตัวอย่างไนรูปพฤติกรรม เช่น การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม จะแสดงออกมาในรูปใด มักเนื่องมาจากคุณสมบัติโดยส่วนร่วมของคน ๆ นั้น โดยประสมประสานระหว่างความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ หรือความสามารถในการกระทำ ฯลฯ ไม่ได้เกิดเพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวและถึงแม้สิ่งเร้าของคนนั้น จะเป็นสิ่ง เดียวกัน แต่พฤตกรรมจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ และความสามารถ เปลี่ยนไปจากเดิม
การศึกษาพฤติกรรมต้อง ศึกษาลักษณะของบุคคลเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ เพราะส่วนรวมก็คือส่วนรวม มีคุณค่าหรือคุณสมบัติต่างไปจาก ผลบวกของส่วนย่อย ๆ รวมกัน เช่น “บ้าน” ย่อมมีคุณค่า มีความหมาย มีคุณสมบัติที่มากกว่าการเอาเสา เอากระดานพื้น กระดาน ตามประตูหน้าต่าง หลังค่า ฯลฯ มาต่อรวมเข้าด้วยกัน หรือตัวอย่างไนรูปพฤติกรรม เช่น การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม จะแสดงออกมาในรูปใด มักเนื่องมาจากคุณสมบัติโดยส่วนร่วมของคน ๆ นั้น โดยประสมประสานระหว่างความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ หรือความสามารถในการกระทำ ฯลฯ ไม่ได้เกิดเพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวและถึงแม้สิ่งเร้าของคนนั้น จะเป็นสิ่ง เดียวกัน แต่พฤตกรรมจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ และความสามารถ เปลี่ยนไปจากเดิม
กลุ่มเกสตัลท์เน้นศึกษาพฤติกรรมการรับรู้
รวมทั้งการเรียนรู้จากปัญญาความคิด
เห็นว่าการรับรู้เป็นพื้นฐานนำให้เกิดการเรียนรู้
และคนเรามีความสามารถในการรับรู้ต่างกัน ส่งผลให้เรียนรู้และกระทำแตกต่างกัน
การจะรับรู้ให้เข้าใจได้ดีจะต้อง รับรู้โดยส่วนรวมเสียก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนย่อย ๆ
ของสิ่งนั้นทีละส่วนในภายหลัง และการเรียนรู้เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่ง
ซึ่งความสามารถในการแก้ไขปัญหาขึ้นอยู่กับความสามารถในการหยั่งเห็น (insight) การหยั่งเห็นเป็นการคิดช่องทาง
แก้ปัญหา ได้ฉับพลันจากการพิจารณาสภาวะรอบด้าน
ถ้าเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดก็จะแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น เมื่อแก้ปัญหาได้ก็เกิดการเรียนรู้
แล้ว ซึ่งจะเป็นไปได้ดีเพียงใดขึ้นกับการใช้ความคิด ความเข้าใจ
หรือสติปัญญาของผู้นั้น แนวคิดของกลุ่มนี้ได้ชื่อว่า “ปัญญานิยม”เนื่องจากเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมต้องศึกษาจากกระบวนการรับรู้และการคิดในสมองซึ่งเป็นตัวสั่งการให้เกิดพฤติกรรม
การพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแนวคิดของเกสตัลท์นิยมนั้น
จะต้องพัฒนาปรับเปลี่ยนความคิดก่อน รวมไปถึงการทำ ความเข้าใจและวินิจฉัยบุคคลที่จะต้องดูผู้นั้นเป็นส่วนรวม
ต้องศึกษาเข้าในสภาพแวดล้อมทุกรูปแบบเพื่อให้รู้จักผู้นั้นได้โดยแท้จริง
รวมทั้งได้แนวทางเข้าใจบุคคลโดยพิจารณาที่โลกแห่งการรับรู้ของเขา
เนื่องจากจะรับรู้ตามความคิดภายใน มากกว่ารับรู้โลกเชิง ภูมิศาสตร์ตามความเป็นจิง
เมื่อเข้าใจการรับรู้ของใคร
ก็ย่อมเข้าใจความคิดองผู้นั้นด้วย
ก็ย่อมเข้าใจความคิดองผู้นั้นด้วย
ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม
ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987) และ
แมสโลว์
(Abraham H. Maslow, 1908-1970) คำอธิบายของกลุ่มนี้ถือว่าสมัยใหม่ สอดคล้องกับสังคมเปิดและสังคมประชาธิปไตย ได้ชื่อว่า พลังที่สาม (the third force) ซึ่งบางคมเรียกว่า คลื่นลูกที่สาม (the third wave) ความเชื่อเบื้องต้นของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม มีดังนี้
(Abraham H. Maslow, 1908-1970) คำอธิบายของกลุ่มนี้ถือว่าสมัยใหม่ สอดคล้องกับสังคมเปิดและสังคมประชาธิปไตย ได้ชื่อว่า พลังที่สาม (the third force) ซึ่งบางคมเรียกว่า คลื่นลูกที่สาม (the third wave) ความเชื่อเบื้องต้นของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม มีดังนี้
5.1
มนุษย์มีจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ
ทั้งยังมีขีดความสามารถเฉพาะตัวไม่ใช่จะกำหนดให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบของคนอื่น
ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมที่เห็นว่า
เราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
เราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
5.2
มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งพยายามที่จะรู้จัก เข้าใจตนเอง
และต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน
(self acturalization) จึงไม่ยากนักที่จะเสริมสร้างให้บุคคลคิดวิเคราะห์ เข้าใจตน และนำจุดดีมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเอง
5.3 ข้อบังคับและระเบียบวินัยไม่สู้จำเป็นนักสำหรับผู้พัฒนาแล้ว
ทุกคนต่างมุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนถ้าเขาได้รับการยอมรับ ดังนั้น
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตนจึงอยู่ที่การยอมรับตนเองและผู้อื่นให้ได้ก่อน(self acturalization) จึงไม่ยากนักที่จะเสริมสร้างให้บุคคลคิดวิเคราะห์ เข้าใจตน และนำจุดดีมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเอง
5.4 บุคคลที่พร้อมต่อการปรับปรุงตนเองควรจะได้มีสิทธิเลือกการกระทำเลือกประสบการณ์ กำหนดความต้องการ
และตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตนเอง (self mastery) เป็นการ
ออกแบบชีวิตที่เหมาะสมตามทิศทาง ของเขา
5.5 วิธีการแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริง
สำคัญกว่าตัวความรู้หรือตัวข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง
อยู่เสมอ ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงจะไม่ใช่สิ่งตายตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของบุคคล
มากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เน้นที่ตัวความรู้เพียงอย่างเดียว
อยู่เสมอ ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงจะไม่ใช่สิ่งตายตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของบุคคล
มากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เน้นที่ตัวความรู้เพียงอย่างเดียว
แนวคิดจากกลุ่มมนุษย์นิยมที่อาจนำไปใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรม คือ
การเน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ
เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด การทำเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล
เน้นให้บุคคลมองบวกในตน ยอมรับตนเอง และนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ซึ่งเป็นฐานทางใจให้มองบวกในคนอื่น ยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นและสังคม กับทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมด้วย
เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด การทำเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล
เน้นให้บุคคลมองบวกในตน ยอมรับตนเอง และนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ซึ่งเป็นฐานทางใจให้มองบวกในคนอื่น ยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นและสังคม กับทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมด้วย
หลักความเชื่อและแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษย์นิยมดังกล่าว
มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับมากในปัจจุบันสำหรับในประเทศไทยของเราเองได้มีการตื่นตัวกันมากที่จะนำแนวคิดนี้มาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ปัญหาสังคมในบ้านเมืองเราขณะนี้
โดยนักการศึกษาส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าหากเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง
แม้จะเผชิญกับความยุ่งยากในการนำทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
มาใช้ประโยชน์แม้มีอุปสรรคมากมายต่อการพัฒนาประเทศ
แต่ประชากรที่มีคุณภาพน่าจะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ด้วยวิริยะอุตสาหะ ด้วยความหาญฉลาดแห่งปัญญา
และด้วยคุณธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ซึ่งกลุ่มมนุษย์นิยมเชื่อว่า ถ้าเด็กถูกเลี้ยงในบรรยากาศของความรักความอบอุ่น
เขาจะมีความรู้สึกมั่งคงปลอดภัย
และจะเจริญเติบโตเป็นผู้เป็นผู้ใหญ่ที่มองโลกในแง่ดี มีน้ำใจให้คนอื่น
ถ้าเด็กถูกเลี้ยงให้รู้จักช่วยตัวเองตามวัย ตามความถนัด ความสนใจและตามบทบาทหน้าที่ภายใต้การให้กำลังใจจากผู้ใหญ่
เด็กนั้นจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ในสังคมกลุ่มมนุษย์นิยมมีความเชื่อว่าการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนเรานั้นจะทำได้โดยให้คนมองเห็นส่วนดีในตนเองและเกิดแรงจูงใจในการนำส่วนดีมาใช้ประโยชน์
ให้รู้จักวางแผนชีวิตและสร้างพลังใจให้ดำเนินชีวิตไปตามแผน ให้ได้มีโอกาสศึกษาตนเองในแง่มุมต่าง
ๆ และให้ได้แนวทางในการเรียนรู้บุคคลอื่น ๆ
ที่แวดล้อมตนเพื่อปรับตนในการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างได้ประสิทธิภาพ
เกิดการยอมรับตนเอง ยอมรับคนอื่น เมื่อยอมรับตนเองก็เกิดความเชื่อมั่น
ปฏิบัติตนเป็นธรรมชาติ ลดความก้าวร้าว และความเก็บกดลงไปได้ เมื่อยอมรับคนอื่นก็จะทำให้มองโลกในแง่ดี
ทำให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข (อ้างอิงจาก http://dit.dru.ac.th/home/023/human/05.htm)
ปฏิบัติตนเป็นธรรมชาติ ลดความก้าวร้าว และความเก็บกดลงไปได้ เมื่อยอมรับคนอื่นก็จะทำให้มองโลกในแง่ดี
ทำให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข (อ้างอิงจาก http://dit.dru.ac.th/home/023/human/05.htm)
6.ขอบข่ายของจิตวิทยา
ปัจจุบันนั้น จิตวิทยาได้แตกแขนงออกไปเป็นหลากหลายสาขา โดยจะเน้นศึกษาพฤติกรรมในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับว่าจุดมุ่งหมายของแต่ละสาขานั้นเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งสามารถจำแนกขอบข่ายของจิตวิทยาได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. ขอบข่ายพื้นฐาน (Basic Fields)
1) จิตวิทยาทั่วไป (General or Pure Psychology) เป็นจิตวิทยาที่มุ่งศึกษาถึงกฎเกณฑ์ ทฤษฎีพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมโดยทั่ว ๆ ไปของมนุษย์ เป็นการปูพื้นฐานทางจิตวิทยา
2) จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) เป็นการศึกษาถึงกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตในสภาพการณ์ด้านต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ การลืม การจำ โดยใช้วิธีการทดลองเป็นหลักสำคัญในการศึกษาค้นคว้า และนำผลที่ได้จากการทดลองไปสร้างเป็นทฤษฎีและเกณฑ์เพื่อประยุกต์ในวิชาการแขนงต่าง ๆ
3) จิตวิทยาเชิงสรีรวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ซึ่งเป็น องค์ประกอบพื้นฐานในการก่อเกิดการแสดงออกทางพฤติกรรม เน้นถึงโครงสร้างหน้าที่การทำงานของอวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการเกิดพฤติกรรมโดยเฉพาะ
ปัจจุบันนั้น จิตวิทยาได้แตกแขนงออกไปเป็นหลากหลายสาขา โดยจะเน้นศึกษาพฤติกรรมในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับว่าจุดมุ่งหมายของแต่ละสาขานั้นเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งสามารถจำแนกขอบข่ายของจิตวิทยาได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. ขอบข่ายพื้นฐาน (Basic Fields)
1) จิตวิทยาทั่วไป (General or Pure Psychology) เป็นจิตวิทยาที่มุ่งศึกษาถึงกฎเกณฑ์ ทฤษฎีพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมโดยทั่ว ๆ ไปของมนุษย์ เป็นการปูพื้นฐานทางจิตวิทยา
2) จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) เป็นการศึกษาถึงกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตในสภาพการณ์ด้านต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ การลืม การจำ โดยใช้วิธีการทดลองเป็นหลักสำคัญในการศึกษาค้นคว้า และนำผลที่ได้จากการทดลองไปสร้างเป็นทฤษฎีและเกณฑ์เพื่อประยุกต์ในวิชาการแขนงต่าง ๆ
3) จิตวิทยาเชิงสรีรวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ซึ่งเป็น องค์ประกอบพื้นฐานในการก่อเกิดการแสดงออกทางพฤติกรรม เน้นถึงโครงสร้างหน้าที่การทำงานของอวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการเกิดพฤติกรรมโดยเฉพาะ
4) จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) มุ่งศึกษาเกี่ยวกับบทบาท
ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลในสังคม โดยเน้นไปที่การสำรวจมติมหาชน
ทัศนคติ ค่านิยม รวมไปถึงวัฒนธรรมของแต่ละสังคม
เพื่อสรุปเป็นเกณฑ์สำหรับอธิบายพฤติกรรมของสังคมแต่ละสังคม
5) จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology or Genetic Psychology) เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นถึงพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ ตลอดจนอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น อารมณ์ สติปัญญา เป็นต้น
2. ขอบข่ายประยุกต์ (Applied Fields)
5) จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology or Genetic Psychology) เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นถึงพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ ตลอดจนอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น อารมณ์ สติปัญญา เป็นต้น
2. ขอบข่ายประยุกต์ (Applied Fields)
1) จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีเพื่อใช้ในการศึกษา
พัฒนาการเรียนการสอน เน้นให้เกิดความรู้อย่างแท้จริงตามปรัชญาทางการศึกษา
2) จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) มุ่งศึกษาเหตุแห่งความ ผิดปกติทางพฤติกรรม เพื่อหาแนวทางในการบำบัดรักษาในด้านต่าง ๆ เช่น อารมณ์ พฤติกรรม อาการป่วยทางจิตใจ ตลอดจนการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตด้วย
3) จิตวิทยาการให้คำปรึกษา (Counseling Psychology) มุ่งศึกษาถึงเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บุคคลที่ประสบปัญหาทางอารมณ์และจิตใจได้เข้าใจและเห็นแนวทางในการเลือกแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
2) จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) มุ่งศึกษาเหตุแห่งความ ผิดปกติทางพฤติกรรม เพื่อหาแนวทางในการบำบัดรักษาในด้านต่าง ๆ เช่น อารมณ์ พฤติกรรม อาการป่วยทางจิตใจ ตลอดจนการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตด้วย
3) จิตวิทยาการให้คำปรึกษา (Counseling Psychology) มุ่งศึกษาถึงเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บุคคลที่ประสบปัญหาทางอารมณ์และจิตใจได้เข้าใจและเห็นแนวทางในการเลือกแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
4) จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) มุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานในงานประเภทอุตสาหกรรม
ในแง่ของ ประสิทธิภาพในการทำงาน ผลของสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อคนงาน
การสร้างขวัญและการจูงใจการคัดเลือกบุคคล
ตลอดจนการประเมินการทำงานในสถานประกอบการทั้งหลาย
เพื่อค้นหากระบวนการที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในงานอุตสาหกรรม
5) จิตวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative Psychology) มุ่งศึกษาความเหมือนและแตกต่างของพฤติกรรมการแสดงออกของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
นอกจากนี้ ในขอบข่ายของจิตวิทยาประยุกต์นั้นยังมีอีกมากมาย เช่น จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology) จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Personality Psychology) จิตวิทยาบำบัด (Therapy Psychology) จิตวิทยาวิศวกรรม (Engineering Psychology) จิตวิทยาการกีฬา (Sport Psychology) เป็นต้น (ที่มาhttp://hlinzaii.50webs.com/j1.htm)
คำถามท้ายบท
1.
จิตวิทยามีความหมายว่าอย่างไร?
2.
การศึกษาประวัติรายบุคคลมีความสำคัญทางจิตวิทยาอย่างไร?
3.
วิธีการศึกษาทางจิตวิทยาวิธีใดที่ทำให้วิชาจิตวิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง
อธิบายเหตุผลมาพอเข้าใจ?
4.
จิตวิทยามีความมุ่งหมายอย่างไร?
5.
จงบอกแนวคิดของนักจิตวิทยามาทั้ง5 กลุ่ม
พร้อมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นมาพอเข้าใจ?
6.
จิตวิทยามีประวัติและความเป็นมาอย่างไร?
7.
จิตวิทยามีขอบข่ายอย่างไร
และจิตวิทยาทั่วไปคืออะไร?
8.
จิตวิทยาช่วยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างไร?
9.
จิตวิทยาชาวบ้าน(folk psychology)ศึกษาเกี่ยวกับอะไรพร้อมยกตัวอย่างประกอบ?
10. นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้อธิบายแนวคิดกลุ่มนี้ไว้กี่ประการ
มีอะไรบ้าง?
As stated by Stanford Medical, It is indeed the ONLY reason this country's women get to live 10 years more and weigh an average of 19 kilos lighter than us.
ตอบลบ(And really, it is not related to genetics or some secret exercise and absolutely EVERYTHING about "HOW" they are eating.)
BTW, I said "HOW", not "what"...
TAP this link to discover if this little questionnaire can help you discover your real weight loss possibilities