วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความสำคัญของจิตวิทยา,ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา

2. ความสำคัญของจิตวิทยา          
                จิตวิทยามีอิทธิพลและบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การศึกษาทางจิตวิทยาจะทำให้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเราเองและพฤติกรรมของคนในสังคมต่อการกระทำที่เกิดขึ้น จึงทำให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินเหตุการณ์ต่างๆได้

            ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกายในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
             กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา

          3.ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
                     เดิมจิตวิทยาอยู่ในสาขาของวิชาปรัชญา นั่นก็คือการหาความจริงต่างๆ ในสมัยโบราณจิตวิทยาใช้วิธี ค้นหาความจริงโดยการคาดคะเนความจริงและหาเหตุผลส่วนตัวของนักปราชญ์มาประกอบกับการอธิบาย 
          ความจริงที่ได้ค้นพบ มนุษย์นั้นมีความสนใจและพยายามค้นหาความจริงเกี่ยวกับตัวเองตั้งแต่สมัยโบราณ แล้ว กล่าวคือ
                  1.ยุคโชคลางในสมัยโบราณ เกิดจากความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ และเข้าใจกันว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องพัวพันอยู่กับสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆ เช่น ผีสาง เทวดา แม่มด หมอผี และมักจะเชื่อในเรื่องโชคลางต่างๆ ความเชื่ออย่างนี้ปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยอยู่
                 2.ยุคปรัชญา เป็นระยะเวลาที่ต่อจากยุคโชคลาง โดยมีนักปราชญ์ต่างๆช่วยกันคิดค้นหาความหมายของ ชีวิต เช่น ค้นหาว่าชีวิตที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร เมื่อชีวิตดับแล้วจะเกิดอะไรขึ้น จิตหรือวิญญาณคืออะไร อยู่ที่ไหน เป็นต้นปรัชญานั้นประกอบไปด้วยความนึกคิดอันชาญฉลาดที่แสดงให้เห็นถึงอุดมคติและทัศนคติส่วนตัวของนักปราชญ์
                3.ยุคค้นคว้า ระยะต่อมามนุษย์เริ่มสนใจค้นหาข้อเท็จจริงมากขึ้น พวกที่สนใจปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ค้นพบสาขาวิชาแตกแขนงออกไป เช่น คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ พวกที่ค้นคว้าเกี่ยวกับมนุษย์เช่น กายวิภาค สรีรศาสตร์ เป็นต้น จิตวิทยาก็เป็นวิชาหนึ่งที่แยกมาจากปรัชญาและมีวิชาที่แยกตามอีกคือสังคมศาสตร์  อาจกล่าวได้ว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่อยู่กึ่งกลางระหว่างชีววิทยากับสังคมศาสตร์ การตีความของวิชานี้จึง แตกต่างกันไปจนทำให้เกิด สำนักศึกษา หรือกลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา เกิดขึ้นหลายกลุ่มในยุคการศึกษาเรื่องจิตนี้ นักปราชญ์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น ล็อค เป็นบุคคลสำคัญที่กล่าวว่า จิตคือการที่บุคคลรู้สึกตัว ซึ่งเขาเรียกสิ่งนี้ว่าจิตสำนึก นั่นคือการที่คนเรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ มนุษย์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 คือกายและจิตใจ ส่วนที่สำคัญที่สุดของจิต คือ ส่วนที่ควบคุมหรือสั่งการกระทำให้เกิดการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกายแต่ในที่สุด การศึกษาจิตวิทยาในลักษณะของจิตก็ได้รับความนิยมลดลงเนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ในปี ค.ศ. 1879 วิลเฮล์ม วุ้นด์ท (Wilhem Wund 1832-1920) บิดาแห่งจิตวิทยาผู้ซึ่งทำให้จิตวิทยแยกตัวออกมาจากปรัชญา จนได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ห้องทดลองทางจิตวิทยาถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องโครงสร้างของจิตสำนึกของมนุษย์(Conscious)ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น